วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

มุสลิมแลกของขวัญและร่วมฉลองวันปีใหม่ได้มั้ย

   จุดยืนของมุสลิมต่อวันปีใหม่

 الحَمْدُ لِلّهِ الّذِىْ أَوْجَبَ عَلَيْنَا، أَنْ نَقُوْمَ باِلوَاجِبَاتِ* أَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلهَ إِلاَّ اللهُ الّذِيْ أَمَرَنَا بِأَنْ نَتْرُكَ السَّيِّئَاتِ وَالمُنْكَرَاتِ *
   وَأَشْهَدُ أَنَّ سَيِّدَنَا مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ أَفْضَلُ اْلمَخْلُوْقَاتِ، اَللّهُمَّ صَلِّ وسَلِّمْ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلهِ وَصَحْبِهِ وَمَنْ تَبِعَ سُنَّتَهُ وَاهْتَدَي بِهَدْيِهِ إِليَ يَوْمِ الدِّيْن *،،..،،..،،
        أَمَّا بَعْدُ { فَيَاأَيُّهَاالنَّاسُ اتَّقُوا اللّهَ حَقَّ تُقَاتِهِ* وَلاَتَمُوْتُنَّ إِلاَّوَأَنْتُمْ مُسْلِمُوْنَ } : وَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَي فِي
   الْقُرْآنِ الْكَرِيْمِ وَمَنْ أَصْدَقُ مِنَ اللهِ قِيْلاً﴿ لَقَدْ كَانَ لَكُمْ فِيْ رَسُوْلِ اللهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ لِمَنْ كَانَ يَرْجُو اللهَ
   وَالْيَوْمَ الآخِرَ: .
อัสสลามมุอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮฺ วาบารอกาตุฮ ขอซือลามัต ซูโกรต่ออัลลอฮฺ (ซุบฮาฯ) และขอต้อนรับปีฮิจเราะห์ศักราชใหม่ เราได้ผ่านพ้นไปแล้วแปดวัน  วันนี้นี้คือวันที่ 8 มุฮัรรอม และพรุ่งนี้มะรืนนี้ก็เป็นวันที่ 9 และ 10            มุฮัรรอม ปีฮิจเราะห์ศักราชใหม่  ก็ขอเชิญชวนพี่น้องทุกคน ถือศีลอดในวันที่ 9 และ 10 เดือนมุฮัรรอม 
   สำหรับคุตบะห์วัน ขอกล่าวถึงในเรื่อง มุสลิมควรมีจะยืนอย่างไรเกี่ยวกับวันปีใหม่
         
         ในครั้งโบราณต่างชาติต่างก็ขึ้นปีใหม่กันตามความนิยมของตนที่เห็นว่า วันปีใหม่ควรจะเป็นวันไหน เช่น ต้นฤดูหนาวเพราะเป็นเวลาพ้นจากมืดฝน สว่างขึ้นเหมือนเวลาเช้า เป็นต้น, ปี ฤดูร้อนเป็นเวลาสว่าง ร้อนเหมือนเวลากลางวันเป็นกลางปี ฤดูฝนที่เป็นเวลามืดคลุ้มโดยมากและฝนพร่ำเพรื่อเที่ยวไปไหนไม่ได้เป็นเหมือนกลางคืน ชาวเยอรมันสมัยโบราณแบ่งฤดู 2 ฤดู คือฤดูหนาวกับฤดูร้อน ขึ้นปีใหม่ราวปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นเวลาที่พื้นภูมิภาคกำลังเริ่มเย็นขึ้นเป็นลำดับ ประชาชนซึ่งแยกย้ายกันไปหากินในที่ต่างๆ ตั้งแต่ในฤดูร้อนได้เก็บเกี่ยวพืชผลที่ทำได้และนำขึ้นยุ้งฉางเสร็จแล้ว ก็มาร่วมชุมนุมกันฉลองขึ้นใหม่ เมื่อชาวโรมันได้รุกรานเข้าไปในอาณาเขตเยอรมัน จึงได้เลื่อนการฉลองปีใหม่มาเป็น 1 มกราคม
       
         ชาวไอยคุปค์ เฟนิเซียนและอิหร่านเริ่มปีใหม่เมื่อกลางฤดูสารทคือราววันที่ 21 กันยายน โยนกสมัยก่อนพุทธกาลขึ้นไป เริ่มปีใหม่ราววันที่ 21 ธันวาคม โรมันโบราณก็เริ่มปีใหม่วันที่ 21 ธันวาคม สมัยซีซาร์เมื่อใช้ปฏิทินที่เรียกว่าแบบยูเลียนได้เลื่อนปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม พวกยิวขึ้นปีใหม่เป็น 2 อย่าง ตามทางการเริ่มปีใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนติษรีราววันที่ 6 กันยายน ถึงวันที่ 5 ตุลาคม ทางศาสนาเริ่มราววันที่ 21 มีนาคม ตอนต้นยุคกลางชาวคริสเตียนเริ่มปีใหม่ วันที่ 25 มีนาคม อังกฤษเชื้อสายแองโกลซักซอนเริ่มปีใหม่วันที่ 25 ธันวาคม ภายหลังให้เลื่อนวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ต่อมาก็กลับเลื่อนไปขึ้นปีใหม่ราว 2242-2296 

         โปรดสังเกตว่า ในอดีตทุกๆ ดินแดน ทุกๆ เผ่าพันธุ์ต่างมีเทศกาลเป็นของตนเอง หรือมีประเพณีของเผ่าพันธุ์ของตนเองอยู่เสมอ แม้กระทั่งวันรื่นเริง วันซึ่งถูกอุบัติขึ้นเพื่อการเฉลิมฉลอง หรือเพื่อแสดงความสนุกสนานนั้น ทุกๆ เผ่าพันธุ์,ทุกๆ ดินแดนต่างก็มีวันรื่นเริงเป็นของตนเองทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าวัน และรูปแบบการเฉลิมฉลองก็จะแตกต่างกันไป สรุปคือ ทุกๆ ชาติ ทุกๆ เผ่าพันธุ์ต่างก็มีวันเฉลิมฉลอง หรือวันรื่นเริงแทบทั้งสิ้น ดั่งที่ท่านรสูลุลลอฮฺ   กล่าวไว้ว่า “ إن لكل قوم عيدا  “ ความว่า “แท้จริงทุกๆ กลุ่มชนนั้นมีวันรื่นเริงทั้งสิ้น” (บันทึกโดยมุสลิม 1479)
        อนึ่ง หากย้อนถามวันรื่นเริง หรือวันเฉลิมฉลองของอิสลามนั้นมีหรือไม่? คำตอบคือมี ดังหลักฐานจากท่านอนัส บุตรของมาลิกเล่าว่า
  
  
   “ كان لأهل الجاهلية يومان في كل سنة يلعبون فيهما  فلما قدم النبي صلى الله عليه وسلم  المدينة قال كان لكم يومان يلعبون فيهما وقد أبدلكم الله فيهما خيرا منهما يوم الفطر ويوم الأضحى “

 ความว่า “ปรากฏว่ากลุ่มชนญาฮิลียะฮฺ (กลุ่มชนที่อิสลามยังไม่อุบัติขึ้นแก่พวกเขา) สำหรับพวกเขามีอยู่สองวันในทุกๆ ปีซึ่งเป็นวันที่พวกเขารื่นเริงสนุกสนานในสองวันดังกล่าว, ครั้นเมื่อท่านรสูลุลลอฮฺ   เดินทางไปยังเมืองมะดีนะฮฺ ท่านรสุล   ก็กล่าวว่า    “ สำหรับพวกท่านมีวันรื่นเริงสนุกสนานอยู่สองวัน ทว่าพระองค์อัลลอฮฺทรงเปลี่ยนให้ดีกว่าวันทั้งสองดังกล่าว นั่นคือวันอีดิลฟิฏริ และวันอีดิลอัฎหา” (บันทึกโดยนะสาอีย์ หะดีษที่ 1538)        ฉะนั้นหะดีษข้างต้นระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ก่อนหน้านี้จะมีวันรื่นเริงวันใด หรือกี่วันก็ตามนั่นไม่ใช่ประเด็น แต่ประเด็นคือภายหลังที่อิสลามได้ถูกอุบัติขึ้น อิสลามได้ทดแทนวันที่อนุญาตให้บรรดามุสลิมสนุกสนานรื่นเริงได้เพียงแค่สองวันเท่านั้น นั่นคือ วันอีดิลฟิฏริ และวันอีดิลอัฎหา

          ครั้นเมื่อหลักการของศาสนาอนุมัติให้มุสลิมฉลอง หรือรื่นเริงได้เพียงสองวันในรอบปีเท่านั้น  บรรดามุสลิมจะแสวงหาวันรื่นเริง หรือวันฉลองอื่นจากวันอีดิลฟิฏริ (عيد الفطر) หรืออีดิลอัฎหา (อ่านว่า อัด-ฮา عيد الأضحى  ) ไม่ได้ เพราะเมื่อท่านรสูล    ยืนยันอย่างชัดเจนแล้วว่ามุสลิมมีวันรื่นเริงเพียง 2 วันเท่านั้น มุสลิมที่ศรัทธามั่นคงก็ต้องปฏิบัติคำสั่งของท่านรสูลุลลอฮฺ     อย่างเคร่งครัด

        อีกทั้งท่านรสูลุลลอฮฺยังกำชับให้ออกห่างจากการเลียนแบบแนวคิด,วิถีชีวิและพฤติกรรมของพวกยะฮูดีย์ และพวกนัศรอนีย์อีกด้วย ดั่งที่ท่านรสูลุลลอฮฺ   กล่าวไว้ว่า “ و لا تشبهوا باليهود ولا بالنصارى  “ ความว่า “พวกท่านอย่าเลียนแบบพวกยะฮูดีย์ (พวกยิว) และพวกนัศรอนีย์ (พวกคริสเตียน) “ (บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษที่ 8230)

       หะดีษข้างต้นระบุไว้อย่างชัดเจนว่า มุสลิมมีจุดยืนของมุสลิมโดยมีอุดมการณ์อันแน่วแน่ว่าไม่ยอมเลียนแบบพฤติกรรม, ประเพณี หรือวัฒนธรรมของประชาชาติอื่น โดยเฉพาะประชาชาติยะฮูดีย์ และนัศรอนีย์โดยเด็ดขาด เพราะนั่นคือคำสั่งที่ท่านรสูลุลลอฮฺ  ต้องการให้มุสลิมเป็นประชาชาติตัวอย่าง เป็นประชาชาติที่นำประชาชาติอื่น ไม่ใช่เป็นประชาชาติที่เลียนแบบประชาชาติอื่น หรือเป็นประชาชาติต่ำต้อยยอมเดินตามหลังประชาชาติอื่นนั่นเอง  เมื่อเป็นเช่นนั้น  ลองกลับมาพิจารณาเถิดว่า การกำหนดวันปีใหม่ของสากล หรือปีใหม่ของโลกนั้นมาจากแหล่งไหน? ผลลัพธ์คือ มาจากพวกโรมัน และพวกอังกฤษ ซึ่งก็อยู่ในกลุ่มของอะฮฺลุลกิตาบ หรือพวกยะฮูดีย์ และนัศรอนีย์นั่นเอง  เมื่อเป็นเช่นนั้นบรรดามุสลิมยิ่งจะต้องออกห่างจากการเฉลิมฉลอง และจัดงานรื่นเริงปีใหม่อย่างไม่ต้องสงสัย จึงเป็นไปไม่ได้ที่มุสลิมจะรณรงค์กันจัดงานปีใหม่ขึ้นในบ้าน หรือจัดในชุมชนมุสลิม เพราะนั่นเป็นวัฒนธรรมของพวกยะฮูดีย์ และนัศรอนีย์ ดั่งที่ท่านรสูลุลลอฮฺ   สั่งห้ามมิให้มุสลิมเลียนแบบกลุ่มชนทั้งสองข้างต้น  แม้นว่ามุสลิมคนใดจัดงานปีใหม่ขึ้น นั่นก็หมายรวมว่า ความเป็นประชาชาติตัวอย่างได้เหือดหายไปจากจิตสำนึกของมุสลิมทีละน้อยทีละน้อยจนในที่สุดก็หามีจิตสำนึกแห่งการเป็นประชาชาติตัวอย่างไม่

     ใช่แต่เท่านั้น ท่านรสูลุลลอฮฺ   มิได้สั่งห้ามบรรดามุสลิมเที่ยวงาน หรือจัดงานเฉลิมฉลองเยี่ยงการจัดงานของประชาชาติอื่นเท่านั้น แต่บริเวณใด หรือสถานที่ใดที่อดีตเคยจัดงานเฉลิมฉลองของกลุ่มชนที่มีความเชื่อ หรือศาสนาอื่นจากอิสลาม ท่านรสูลุลลอฮฺ   ก็ยังสั่งห้ามมิให้มุสลิมเข้าไปร่วมกิจกรรมยังบริเวณ หรือสถานที่แห่งนั้นอีกต่างหาก ท่านษาบิต บุตรของเฎาะฮากเล่าว่า “ ชายผู้หนึ่งบนบาน (นะซัร) ว่าจะเชือดอูฐหนึ่งตัว ณ บริเวณ (ที่เรียกว่า) บุวานะฮ, ท่านรสูลุลลอฮจึงถามเขาว่า ณ สถานที่แห่งนั้นเคยมีรูปเจว็ดหนึ่งจากบรรดารูปเจว็ดที่เคยถูกเคารพภักดีในสมัยญาฮิลียะฮ์ (หมายถึงสมัยก่อนที่ท่านรสูล   ถูกแต่งตั้งให้เป็นนบี) หรือไม่ ? บรรดาเศาะหาบะฮ์ตอบว่า ไม่เคยมีการกระเช่นนั้นครับ, ท่านรสูลถามต่ออีกว่า สถานที่แห่งนั้นเคยมีการจัดงานวันรื่นเริงของพวกเขาหรือไม่ ? บรรดาเศาะหาบะฮ์ก็ตอบว่า ไม่เคยมีการกระทำกันครับ, ท่านรสูล   จึงกล่าวขึ้นว่า เช่นนั้นท่านจงทำให้สิ่งที่ท่านบนบานให้ครบถ้วนสมบูรณ์เถิด แท้จริงไม่มีการทำบนบานที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในเรื่องของการฝ่าฝืนพระองค์อัลลอฮ์ “ (บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษ 2881)

หะดีษข้างต้นทำให้มุสลิมต้องพิจารณาถึงท่าทีของตนเองให้มากๆ เพราะมุสลิมบางคนยังคงไปเที่ยวงานส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ โดยไปร่วมงานนับถอยหลังเพื่อเข้าวันที่ 1 มกราคม โดยต้องการมีส่วนร่วมเฉลิมฉลองปีใหม่กับประชาชาติอื่นอย่างสนุกสนาน แต่ท่านรสูลุลลอฮฺ   กลับระบุว่า สถานที่ซึ่งเคยถูกทำให้เป็นสถานที่จัดงานรื่นเริงนั้นมุสลิมก็ไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวใดๆ ทั้งสิ้นนั่นเอง พึงทราบเถิดว่า อะไรที่มิใช่วิถีชีวิตของมุสลิม  วาญิบ (จำเป็น) สำหรับมุสลิมจะต้องออกห่างจากวิถีชีวิตเยี่ยงนั้น

           อนึ่ง อาจมีบางท่านอ้างว่า จริงอยู่ถึงแม้ว่าไม่อนุญาตให้บรรดามุสลิมเฉลิมฉลองในวันที่ 1 มกราคมซึ่งเป็นวันปีใหม่สากลก็ตาม แต่มุสลิมสามารถเฉลิมฉลองปีใหม่อิสลามได้ นั่นคือให้รื่นเริงและฉลองกันในวันที่ 1 มุหัรฺร็อมของทุกๆ ปี ซึ่งเป็นวันปีใหม่อิสลาม โดยอ้างหลักฐานจากข้อมูลที่ว่า

“วันที่ 1 เดือนมุฮัรรัม เป็นวันแรกของการเริ่มศักราชใหม่ ตามประวัติศาสตร์ถือเป็นวันที่ท่านศาสดามูฮัมมัดลี้ภัยจากนครมักกะฮ์ไปสู่นครมะดีนะฮ์ เมื่อวันนี้ได้เวียนมาบรรจบ มุสลิมจึงรำลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น แต่เพื่อมิให้การรำลึกภาพเหตุการณ์สำคัญในวันนั้นเป็นการสูญเปล่าก็ประกอบกิจกรรมกุศล เช่น การอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน การเอ่ยคำสดุดีสรรเสริญองค์ศาสดา ตลอดจนขอพรมาปฏิบัติเสริมอันเป็นสิริมงคล”     
ข้อมูลข้างต้นที่อ้างมานั้นถือว่าเป็นการอ้างอิงที่ไม่ใช่หลักวิชาการ แต่เป็นการอ้างอิงด้วยการวินิจฉัยเอาเองว่าการทำพิธีกรรมในวันที่ 1 มุหัรฺร็อม เป็นสิ่งที่ดี อีกทั้งยังเป็นการรำลึกภาพเหตุการณ์สำคัญในวันนั้น ซึ่งแนวคิดดังกล่าวถือว่าเป็นการอุตริกรรมขึ้นใหม่ในศาสนา (บิดอะฮฺ) หากว่าแนวคิดข้างต้นเป็นสิ่งที่ดีแล้วไซร้ ท่านนบีมุหัมมัด    จะต้องกระทำเป็นบุคคลแรกแล้วนั่นเอง หรือไม่บรรดาเศาะหาบะฮฺก็ต้องมีร่วมกันรำลึกวันที่ 1 มุหัรฺร็อมของทุกๆ ปี เนื่องจากเป็นวันปีใหม่อิสลาม แต่ทว่าสิ่งข้างต้นไม่มีแบบฉบับจากท่านรสูล   หรือไม่มีการปฏิบัติของบรรดาเศาะหาบะฮฺแม้แต่คนเดียว ฉะนั้นสิ่งข้างต้นจึงเป็นเรื่องเหลวไหล และเป็นเรื่องที่อุตริกรรมขึ้นใหม่ในศาสนา (บิดอะฮฺ) นั่นเอง, ใช่แต่เท่านั้น การกำหนดเดือนมุหัรฺร็อมเป็นเดือนแรกของปฏิทินอิสลามนั้นกลับมิได้ถูกกำหนดจากท่านนบีมุหัมมัด   เลยแม้แต่น้อย แต่ถูกดำริขึ้นในสมัยของเคาะลีฟะฮฺอุมัรฺ ดั่งมีรายละเอีดยดั่งนี้

การนับวันและเดือนในอิสลามกำหนดให้ใช้ระบบจันทรคติเป็นหลัก แต่อาหรับในยุคก่อนยังไม่มีการกำหนดวิธีนับปี มีแต่เพียงเล่าขานต่อๆกันมาด้วยเหตุการณ์สำคัญๆที่เกิดขึ้น เช่น กล่าวว่า ท่านนบีมุฮัมมัด   เกิดในปีช้าง   

ในปีนั้นมีเหตุการณ์สำคัญคือ อับเราะหะฮฺ เจ้าเมืองยะมันยกกองทัพช้างมุ่งตรงมายังมักกะฮฺหมายจะทำลายอัลกะอฺบะฮฺ แต่อัลลอฮฺได้ทรงพิทักษ์รักษาบ้านของพระองค์โดยทรงบันดาลให้ฝูงนกอะบาบีลคาบก้อนหินมาถล่มใส่กองทัพช้างของอับเราะหะฮฺจนย่อยยับไป

ต่อมาหลังจากท่านนบีมุฮัมมัด   สิ้นชีวิตไป แผ่นดินอิสลามได้แผ่ขยายออกไปกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคการปกครองของท่านเคาะลีฟะฮฺอุมัร ซึ่งสืบทอดการปกครองอาณาจักรอิสลามเป็นเคาะลีฟะฮฺคนที่ 2 ต่อจากท่านเคาะลีฟะฮฺอบูบักร์ ท่านอุมัรได้จัดระบบการบริหารราชการแผ่นดิน การเงิน การคลัง ให้เป็นระเบียบ มีการทำสำมะโนประชากร มีการทำบันทึกรายได้รายจ่ายของรัฐอย่างเป็นระบบ จึงพบปัญหาว่าไม่สามารถระบุวันที่ได้แน่นอน เกิดความสับสนในการบันทึกเอกสารต่างๆ บางทีเดือนเดียวกันแต่ไม่ทราบว่าเป็นปีใด

ท่านอุมัรได้ปรึกษาหารือกับบรรดาสาวกของท่านนบีที่ร่วมบริหารงานอยู่ก็มีมติให้ ปรับปรุงการกำหนดปีกันใหม่ บางคนเสนอให้ใช้ศักราชโรมัน บางคนเสนอให้ใช้ศักราชเปอร์เชีย บ้างก็เสนอให้ใช้วันเกิดของท่านนบีเป็นศักราชอิสลามบ้าง ให้ใช้วันที่ท่านนบีได้รับการแต่งตั้งเป็นนบี   บ้าง หรือให้ใช้วันเสียชีวิตของท่านเป็นจุดเริ่มต้นนับศักราชอิสลามบ้าง แต่ท่านอุมัรไม่เห็นด้วยที่จะรับวิธีคิดตามอย่างพวกที่พยายามหาทางทำลายล้างและเป็นปฏิปักษ์กับอิสลามมาใช้ และไม่เห็นด้วยที่จะเอาวันเกิดวันตายของท่านนบี  มากำหนดศักราชอิสลามเลียนแบบศาสนาอื่น

ในที่สุด ท่านอะลี หนึ่งในคณะที่ปรึกษา (ซึ่งต่อมาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺคนที่ 4) ได้เสนอให้ เอาการอพยพ (หิญเราะฮฺ) ของท่านนบีจากมักกะฮฺไปสู่มะดีนะฮฺเป็นจุดเริ่มต้นนับศักราชใหม่ของอิสลาม เนื่องจากเป็นนิมิตหมายถึงความสำเร็จในการสถาปนารัฐอิสลามของท่านนบี   และยิ่งกว่านั้นการอพยพครั้งนั้นยังเป็นการจำแนกความจริงจากความเท็จและความหลงผิด ได้อย่างชัดเจน

ท่านอุมัรเห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อเสนอนี้ การปรึกษาหารือเรื่องนี้เกิดขึ้นประมาณปีที่ 17-18 หลังจากการหิญเราะฮฺ จึงมีมติให้เริ่มนับศักราชอิสลามตั้งแต่ปีที่ท่านนบีอพยพ เรียกว่า หิญเราะฮฺศักราช
 
พิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวอาหรับที่มีมาแต่โบราณคือพิธีหัจญ์ ซึ่งจะมีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศมาร่วมพิธีที่นครมักกะฮฺ และเมื่อเสร็จสิ้นพิธีหัจญ์ก็พอดีย่างเข้าเดือนมุหัรรอม จะเป็นจุดเริ่มต้นการค้าขายและธุรกิจต่างๆ ชาวอาหรับจึงนับเดือนมุหัรรอมนี้เป็นเดือนแรกของปี ศักราชอิสลามก็ยังคงนับเดือนมุหัรรอมเป็นเดือนแรก มิใช่เริ่มนับ ณ วันที่ท่านนบีอพยพ (ท่านนบีอพยพในเดือนเราะบีอุลเอาวัลซึ่งเป็นเดือนที่ 3 ของปี)

        แต่เริ่มนับวันที่ 1 มุหัรรอม ของปีที่ท่านนบี   อพยพ เป็นวันเริ่มต้นหิญเราะฮฺศักราช ตำราบางเล่มกล่าวว่าวันนั้นตรงกับวันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ.632 (ตามปฏิทิน Julian Calendar) เนื่องจากการกำหนดศักราชอิสลามนี้เกิดขึ้นหลังจากท่านนบีสิ้นชีวิตไปแล้วถึง 17-18 ปี วันปีใหม่ของหิญเราะฮฺศักราชจึงไม่ถือเป็นวันสำคัญทางศาสนา และไม่ปรากฏว่ามุสลิมในยุคแรกๆเฉลิมฉลองวันปีใหม่นี้ แต่พวกเขายึดมั่นในวันสำคัญ 2 วัน คือ อีดิลฟิฏริ และ อีดิลอัฎฮา ที่พระองค์อัลลอฮฺทรงประทานให้เพื่อล้มล้างและยกเลิกวันสำคัญหรือพิธีกรรมเก่าๆที่เคยยึดถือปฏิบัติกันมาในยุคก่อนเข้ารับอิสลาม และจากการพิจารณาถึงวิธีกำหนดศักราชอิสลาม จะเห็นว่าท่านเคาะลีฟะฮฺอุมัรพยายามอย่างยิ่งที่จะหลีกเลี่ยงการเลียนแบบวิธีคิดและประเพณีปฏิบัติตามลัทธิศาสนาอื่น 


สรุปว่าสาเหตุที่ศาสนาไม่อนุญาตให้มุสลิมร่วมงาน หรือจัดงานปีใหม่มีดั่งนี้
สิ่งข้างต้นเป็นการอุตริกรรมขึ้นใหม่ซึ่งไม่ปรากฏจากบทบัญญัติที่อนุญาตให้เฉลิมฉลองในวันดังกล่าว
สิ่งข้างต้นนั้นมาจากพวกยะฮูดีย์ และนัศรอนีย์ ซึ่งมีบทบัญญัติศาสนาให้ออกห่างการเลียนแบบตามทั้งสองกลุ่มนั้นอย่างสิ้นเชิง
มุสลิมถูกสั่งสอนให้ตามแนวทางจากอัลกุรฺอานและสุนนะฮฺของท่านนบีมุหัมมัด   หน้าที่ของบรรดามุสลิมจึงต้องปฏิบัติตามแนวทางของอิสลามอย่างเคร่งครัด  เมื่อเป็นเช่นนั้นศาสนาระบุไว้อย่าชัดเจนว่า ศาสนาเปิดโอกาสให้บรรดามุสลิมสนุกสนานรื่นเริง และเฉลิมฉลองในรอบปีได้มีเพียงสองวัน อันได้แก่ วันอีดิลฟิฏริ และอีดิลอัฎหาเท่านั้น, ส่วนการเฉลิมฉลองในวันปีใหม่ซึ่งไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับชีวิตของมุสลิมเลยแม้แต่น้อย หน้าที่ของมุสลิมจึงจะต้องออกห่างจากการเฉลิมฉลองในวันดังกล่าวอย่างไม่ต้องสงสัย
การที่มุสลิมหมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่สนุกสนานรื่นเริงนั้น จะทำให้หัวใจของมุสลิมหมกมุ่น และสาละวนอยู่กับสิ่งที่ไร้สาระ  ซึ่งเป็นสิ่งที่ค้านกับทางนำแห่งสัจธรรมจากพระผู้เป็นเจ้า    ขอให้พระองค์อัลลอฮฺทรงเมตตาชี้ทางนำให้แก่ผู้ที่หลงผิดด้วยเถิด
 

 การให้ของขวัญ และบัตรอวยพรในวันปีใหม่
บัตรอวยพรคริสต์มาสพิมพ์ครั้งแรกโดยบริษัทลอนดอนจำกัด ทำออกจำหน่ายในปี ค.ศ. 1843 ต่อมามีบริษัทอื่นๆ พิมพ์ออกมาและจำหน่ายอย่างกว้างขวาง เป็นที่นิยมกันอย่างมากมายจนพิมพ์แทบไม่พอขาย ปัจจุบันการส่งบัตรอวยพรคริสต์มาสและปีใหม่กลายเป็นธรรมเนียมถือปฏิบัติกันทั่วโลก โดยส่งคำอวยพรถึงกันและกันในครอบครัว และระหว่างเพื่อนฝูงมิตรสหาย เพราะเป็นวิธีหนึ่งที่จะแสดงความระลึกถึงกันได้เป็นอย่างดีในโอกาสฉลองเทศกาลอันสำคัญนี้ ซึ่งเป็นวาระแห่งความปีติยินดี
จุดประสงค์ของการส่งบัตรอวยพรนั้น เพื่อแสดงความสุข ความยินดีในวันคริสต์มาส และส่งความปรารถนาดีรำลึกถึงกันและกันด้วยใจจริง ถ้าหากขาดเป้าหมายเหล่านี้แล้ว บัตรอวยพรราคงแพงที่สวยหรู และถ้อยคำอวยพรที่ไพเราะเพราะพริ้งจะไร้ความหมายทันที 
ธรรมเนียมที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนนิยมทำกันมากที่สุดคือ การส่งบัตรอวยพร (Greeting Card) ไปยังญาติสนิทมิตรสหาย โดยบรรจุข้อความที่สำคัญและประทับใจเช่น Merry Christmas อวยพรขอให้ผู้รับมีความสุข สดชื่น และสมปรารถนาด้วยอำนาจแห่งพระมหากรุณาธิคุณของพระผู้เป็นเจ้า 
   

 สรุปที่มาของบัตรอวยพรปีใหม่
การส่งบัตรอวยพรในวันปีใหม่ ถือว่าเป็นธรรมเนียมที่นิยมปฏิบัติกันสำหรับคริสต์ศาสนิกชน
ประเด็นชี้แจง


ศาสนาอิสลามอนุญาตให้มอบของขวัญ หรือแม้แต่การเขียนบัตรอวยพรให้แก่มุสลิมด้วยกันได้ เพราะนั่นถือว่าเป็นเรื่องของสังคม แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่กำหนดวันเจาะจงที่จะมอบให้อย่างตายตัว มุสลิมสามารถมอบของขวัญ หรือบัตรอวยพรได้ตลอดเวลา แต่ถ้ามุสลิมคนใดเจาะจงมอบให้เฉพาะวันคริสต์มาส หรือวันปีใหม่ เท่ากับว่ามุสลิมผู้นั้นกำลัง            เลียนแบบกลุ่มอื่นแล้ว ดั่งเช่นที่ท่านรสูลุลลอฮฺ   กล่าวไว้ว่า “ من تشبه بقوم فهو منهم  “ ความว่า “บุคคลใดที่เลียนแบบชนกลุ่มใดเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของชนกลุ่มนั้น” (บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษที่ 3512)
     

   ดังนั้น  เมื่อศาสนาไม่อนุญาตในรื่นเริง และเฉลิมฉลองในวันปีใหม่ หรือเทศกาลปีใหม่ เช่นนี้มุสลิมก็ต้องหลีกเลี่ยงโดยไม่ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกิจกรรมใดในเทศกาลดังกล่าว ไม่ว่าจะมีส่วนร่วมให้นำสิ่งของต่างๆ ที่บ่งบอกว่าเราได้มีส่วนร่วมในวันนั้น ไม่ว่าจะในเรื่องของการกิน การดื่ม  เสื้อผ้า  ของขวัญ  หรืออย่างอื่นๆ อีก       เป็นหน้าที่เหนือมุสลิมทุกคนที่จะต้องภาคภูมิใจในศาสนาของตนเอง และเขาจะต้องไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับทุก ๆ เทศกาลที่ไม่ใช่อิสลามอย่างสิ้นเชิง
เราขอให้พระองค์อัลลอฮผู้ทรงสูงส่งทรงโปรดปกป้องพี่น้องมุสลิมจากการทดสอบทั้งหลาย ไม่ว่าในที่ลับและที่แจ้ง  และขอให้พระองค์ทรงคุ้มครองและประทานทางนำ หรือแนวทางแห่งสัจธรรมให้กับพวกเราด้วยเถิด อามีน  (ขอพระองค์อัลลอฮฺทรงรับคำวิงวอนนี้ด้วยเถิด)

بارك الله لي ولكم في القرآن العظيم، ونفعني وإياكم بما فيه من الآيات والذكر الحكيم، وتقبل مني ومنكم تلاوته، إنه هو السميع العليم. واستغفر الله لي ولكم من كل ذنب فاستغفروه   إنه هو الغفور الرحيم 

ที่มา
http://www.muslimpsu.net/board/index.php?topic=442.0 

رحمن رحمن - مشاري راشد العفاسي Mishari Rashid Al Afasy - Rahman

ลองฟังดูนะ Rahman มันรู้สึกดีจริง ๆ นะ

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การให้สลาม อัสลามุอาลัยกุม วะเราะมะตุลลอฮ วะบารอกาตุฮ"


อัสลามุอาลัยกุมวะเราะฮฺมาตุลลอฮ วะบะรอฮฺกาตุฮฺ
 


จรรยามารยาท
          จรรยามารยาท หมายถึง การนำสิ่งที่น่ายกย่องสรรเสริญมาปฏิบัติ ทั้งในด้านวาจา การกระทำ และมารยาทที่ดีงาม
          อิสลามเป็นศาสนาที่สมบูรณ์  จัดระบอบการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในทุกสภาวการณ์  กำชับให้ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และห้ามปรามจากสิ่งที่เกิดโทษ และได้กำหนดมารยาทต่างๆ ต่อตนเองและต่อผู้อื่น  มารยาทยามรับประทานอาหารและดื่ม มารยาทยามนอนและตื่น มารยาทยามอยู่ในพื้นที่และเดินทาง และมารยาทในทุกอิริยาบทของชีวิตประจำวัน
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :
ความว่า “และสิ่งใดที่รอซูลได้นำมายังพวกเจ้า พวกเจ้าก็จงยึดมั่นเอาไว้ และสิ่งใดที่ท่านห้ามปรามไม่ให้พวกเจ้ากระทำ พวกเจ้าก็จงละเว้นเสีย และพวกเจ้าจงเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺเถิด แท้จริง อัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเข้มงวดในการลงโทษ” (อัล-หัชร์ : 7)

ในบรรดามารยาทที่ได้มีระบุในอัลกุรอานและในหะดีษที่เศาะฮีหฺ มีดังต่อไปนี้ :

 มารยาทการให้สลาม
ความประเสริฐของการให้สลาม
1. จากอับดุลลอฮฺ บิน อัมร์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :
أَنَّ رَجُلاً سَأَلَ النَّبِىَّ صلى الله عليه وسلم : أَىُّ الإِسْلاَمِ خَيْرٌ؟، قَالَ: «تُطْعِمُ الطَّعَامَ، وَتَقْرَأُ السَّلاَمَ عَلَى مَنْ عَرَفْتَ وَمَنْ لَمْ تَعْرِفْ» 
 ความว่า มีชายผู้หนึ่งได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า (บทบัญญัติของ)อิสลามข้อไหนดีที่สุด? ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ตอบว่า “คือการที่ท่านให้อาหารแก่ผู้อื่น และการที่ท่านให้สลามแก่ผู้ที่ท่านรู้จักและผู้ที่ท่านไม่รู้จัก” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 12 สำนวนรายงานเป็นของท่าน, มุสลิม : 39)
2. จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :
قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم: «وَالَّذي نَفْسي بِيَدِهِ لاَ تَدْخُلُونَ الْجَنَّةَ حَتَّى تُؤْمِنُوا، وَلاَ تُؤْمِنُوا حَتَّى تَحَابُّوا، أَوَلاَ أَدُلُّكُمْ عَلَى شَىْءٍ إِذَا فَعَلْتُمُوهُ تَحَابَبْتُمْ؛ أَفْشُوا السَّلاَمَ بَيْنَكُمْ» .
ความว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ขอสาบานกับผู้ที่ชีวิตฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า พวกท่านจะไม่เข้าสวรรค์จนกว่าพวกท่านจะศรัทธา และพวกท่านจะไม่ศรัทธาจนกว่าพวกท่านจะรักใคร่ปรองดองกัน พวกท่านจะเอาไหม ฉันจะบอกวิธีหนึ่งที่เมื่อพวกท่านปฏิบัติแล้ว พวกท่านก็จะรักใคร่ซึ่งกันและกัน ? จงแพร่สลามในหมู่พวกท่าน” (บันทึกโดยมุสลิม : 54)
3. จากอับดุลลอฮฺ บิน สลาม เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :
سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَقُوْلُ :  ـ وفيه ـ «أَيُّهَا النَّاسُ! أَفْشُوا السَّلاَمَ، وَأَطْعِمُوا الطَّعَامَ، وَصَلُّوا وَالنَّاسُ نِيَامٌ؛ تَدْخُلُونَ الْجَنَّةَ بِسَلاَمٍ».

ความว่า ฉันได้ยินท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “โอ้ มนุษย์เอ๋ย ! พวกท่านจงแพร่สลาม จงเลี้ยงอาหาร และทำละหมาดในยามที่คนอื่นต่างหลับไหล แล้วท่านจะได้เข้าสรวงสวรรค์ด้วยความสันติราบรื่น” (เป็นหะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ : 2485 สำนวนนี้เป็นของท่าน ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2019, อิบนุ มาญะฮฺ : 1334 ดูเศาะฮีหฺ สุนัน อิบนิ มาญะฮฺ : 1097)

วิธีการให้สลาม
1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :
ความว่า “และเมื่อพวกเจ้าได้รับการอวยพรด้วยคำอวยพรหนึ่ง พวกเจ้าก็จงกล่าวตอบ (แก่ผู้ที่อวยพร)ด้วยคำอวยพรที่ดีกว่านั้น หรือด้วยคำเช่นเดียวกัน แท้จริง อัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงคำนวณนับในทุกสิ่ง” (อัน-นิสาอ์ : 86)
2. จากอิมรอน บิน หุศ็อยน์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :
جَاءَ رَجُلٌ إِلَى النَّبِىِّ صلى الله عليه وسلم، فَقَالَ: السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ. فَرَدَّ عَلَيْهِ السَّلاَمَ، ثُمَّ جَلَسَ. فَقَالَ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم: «عَشْرٌ». ثُمَّ جَاءَ آخَرُ، فَقَالَ: السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللَّهِ. فَرَدَّ عَلَيْهِ، فَجَلَسَ. فَقَالَ: «عِشْرُونَ». ثُمَّ جَاءَ آخَرُ، فَقَالَ: السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللَّهِ وَبَرَكَاتُهُ. فَرَدَّ عَلَيْهِ، فَجَلَسَ. فَقَالَ: «ثَلاَثُونَ».
ความว่า : มีชายคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วกล่าวว่า “อัสสลามมุอะลัยกุม” ท่านจึงตอบสลาม แล้วเขาก็นั่งลง แล้วท่านนบีก็บอกว่า “ได้สิบ” ต่อมามีคนอื่นมาหาอีก เขากล่าวว่า “อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะฮฺมะตุลลอฮฺ” ท่านจึงตอบกลับ แล้วเขาก็นั่งลง ท่านบอกว่า “ได้ยี่สิบ” ต่อมาก็มีคนอื่นมาหาอีก เขากล่าวว่า “ อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะฮฺมะตุลลอฮฺ วะบะเราะกาตุฮฺ” ท่านก็ตอบกลับ แล้วเขาก็นั่งลง ท่านบอกว่า “ได้สามสิบ” (เป็นหะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด : 5195 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4327, อัต-ติรมิซีย์ : 2689 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2163)

ความประเสริฐของผู้ที่เริ่มให้สลามก่อน
1. มีรายงานจากอบู อัยยูบ อัล-อันศอรีย์ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«لاَ يَحِلُّ لِمُسْلِمٍ أَنْ يَهْجُرَ أَخَاهُ فَوْقَ ثَلاَثِ لَيَالٍ يَلْتَقِيَانِ فَيُعْرِضُ هَذَا وَيُعْرِضُ هَذَا، وَخَيْرُهُمَا الَّذِى يَبْدَأُ بِالسَّلاَمِ».
ความว่า “ไม่อนุมัติให้มุสลิมตัดสัมพันธ์กับพี่น้องของเขาเกินกว่าสามคืน ซึ่งสองคนนั้นเจอกันแล้วต่างคนต่างหนีหน้า และผู้ที่ประเสริฐกว่าในสองคนนั้นคือผู้ที่เริ่มให้สลามก่อน” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 6077, มุสลิม : 2560 สำนวนนี้เป็นของท่าน)
2. จากอบู อุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«إِنَّ أَوْلَى النَّاسِ بِاللَّهِ مَنْ بَدَأَهُمْ بِالسَّلاَمِ».
 ความว่า “แท้จริงผู้มีความพิเศษกับอัลลอฮฺมากที่สุด คือ คนที่เริ่มให้สลามก่อนคนอื่น” (เป็นหะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด : 5197 สำนวนเป็นของท่าน ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4338, อัต-ติรมิซีย์ : 2694 ดูเศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2167)

ผู้ที่สมควรเริ่มให้สลามก่อน
1. มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«يُسَلِّمُ الصَّغِيرُ عَلَى الْكَبِيرِ، وَالْمَارُّ عَلَى الْقَاعِدِ، وَالْقَلِيلُ عَلَى الْكَثِيرِ».
 ความว่า “เด็กควรให้สลามแก่ผู้ใหญ่ คนเดินผ่าน(ควรให้สลาม)แก่คนที่นั่งอยู่ และกลุ่มคนที่น้อยกว่า (ควรให้สลาม)แก่กลุ่มคนที่มากกว่า” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 6231, มุสลิม : 2160)
2. มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«يُسَلِّمُ الرَّاكِبُ عَلَى الْمَاشِى، وَالْمَاشِى عَلَى الْقَاعِدِ، وَالْقَلِيلُ عَلَى الْكَثِيرِ».
ความว่า “ผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะควรให้สลามแก่ผู้ที่เดิน ผู้ที่เดิน(ควรให้สลาม)แก่ผู้ที่นั่ง และกลุ่มคนที่น้อยกว่า(ควรให้สลาม)แก่กลุ่มคนที่มากกว่า” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 6232, มุสลิม : 2160)

การให้สลามแก่สตรีและเด็ก
1. จากอัสมาอ์ บินตุ ยะซีด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา กล่าวว่า :
مَرَّ عَلَيْنَا النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم فِى نِسْوَةٍ فَسَلَّمَ عَلَيْنَا.
ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ผ่านหน้าพวกเราในหมู่สตรีกลุ่มหนึ่ง แล้วท่านก็ให้สลามแก่พวกเรา (เป็นหะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด : 5204 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4336, อิบนุ มาญะฮฺ : 3701 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อิบนิ มาญะฮฺ : 2986)
2. มีรายงานจากอะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า :
أَنَّهُ مَرَّ عَلَى صِبْيَانٍ فَسَلَّمَ عَلَيْهِمْ، وَقَالَ: كَانَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - يَفْعَلُهُ
ความว่า ท่าน(อะนัส)ได้ผ่านพวกเด็กๆ กลุ่มหนึ่ง แล้วท่านก็ให้สลามแก่พวกเขา และกล่าวว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เคยทำอย่างนี้” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 6247 สำนวนเป็นของท่าน, มุสลิม : 2168)

การให้สลามของสตรีแก่บุรุษเมื่อปลอดจากฟิตนะฮฺ
จากอุมมุฮานิ บินตุ อบี ฏอลิบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา กล่าวว่า :
ذَهَبْتُ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم عَامَ الْفَتْحِ، فَوَجَدْتُهُ يَغْتَسِلُ، وَفَاطِمَةُ ابْنَتُهُ تَسْتُرُهُ، فَسَلَّمْتُ عَلَيْهِ، فَقَالَ «مَنْ هَذِهِ»؟. فَقُلْتُ : أَنَا أُمُّ هَانِئٍ بِنْتُ أَبِى طَالِبٍ. فَقَالَ: «مَرْحَبًا بِأُمِّ هَانِئٍ». 
ความว่า ฉันได้ไปหาท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ในปีอัล-ฟัตหฺ(ปีแห่งการเปิดเมืองมักกะฮฺ) ซึ่งฉันพบว่าท่านกำลังอาบน้ำอยู่ โดยมีฟาฏิมะฮฺ บุตรสาวของท่านกำลังกั้นฉากให้ท่าน ฉันเลยให้สลามแก่ท่าน และท่านถามว่า “ใครกันนี่ ?” ฉันตอบว่า “ฉันคืออุมมุ ฮานิอ์ บินตุ อบีฏอลิบ” ท่านจึงกล่าวว่า “ยินดีต้อนรับ อุมมุ ฮานิอ์” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 6158 สำนวนเป็นของท่าน, มุสลิม : 336)

การให้สลามขณะเข้าบ้าน
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :
ความว่า “ดังนั้น เมื่อพวกเจ้าจะเข้าในบ้านหลังใดก็ตาม พวกเจ้าก็จงให้สลามแก่พวกท่านเอง(หมายถึงให้สลามแก่ผู้อยู่ในบ้านที่เป็นมุสลิม ซึ่งเปรียบเสมือนเรือนร่างเดียวกันกับท่าน) เพื่อเป็นการอวยพรอันจำเริญพูนสุขจากอัลลอฮฺ”  (อัน-นูร : 61) 
 
ไม่ให้สลามแก่ชาวซิมมีย์(ผู้ไม่ใช่มุสลิมที่อยู่ในชุมชนมุสลิม)
1. มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«لاَ تَبْدَءُوا الْيَهُودَ وَلاَ النَّصَارَى بِالسَّلاَمِ...»
ความว่า “พวกท่านจงอย่าเริ่มให้สลามแก่ชาวยะฮูดและนัศรอนีย์ก่อน ...” (มุสลิม : 2167)
2. อะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«إِذَا سَلَّمَ عَلَيْكُمْ أَهْلُ الْكِتَابِ فَقُولُوا وَعَلَيْكُمْ»
ความว่า “เมื่อชาวคัมภีร์ให้สลามแก่พวกท่าน ก็จงตอบว่า “วะอะลัยกุม”” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 6258, มุสลิม : 2163)

ผู้ใดผ่านกลุ่มคนที่มีทั้งมุสลิมและกาเฟรก็จงให้สลามโดยมุ่งเจตนาต่อคนมุสลิม
มีรายงานจากอุสามะฮฺ บิน ซัยด์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่า :
أَنَّ النَّبِىَّ صلى الله عليه وسلم عادَ سَعْدَ بْنَ عُبَادَةَ ... وفيه : حَتَّى مَرَّ بِمَجْلِسٍ فِيهِ أَخْلاَطٌ مِنَ الْمُسْلِمِينَ وَالْمُشْرِكِينَ عَبَدَةِ الأَوْثَانِ وَالْيَهُودِ ... فَسَلَّمَ عَلَيْهِمُ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم ثُمَّ وَقَفَ فَنَزَلَ فَدَعَاهُمْ إِلَى اللَّهِ وَقَرَأَ عَلَيْهِمُ الْقُرْآنَ. 
ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ไปเยี่ยมสะอัด บิน อุบาดะฮฺ  (ในระหว่างทาง) ท่านได้ผ่านกลุ่มคนที่ปะปนกันซึ่งมีทั้งคนมุสลิม คนมุชริกผู้กราบไหว้รูบปั้น และคนยะฮูด... ท่านจึงให้สลามแก่พวกเขา แล้วท่านก็หยุดลงพัก ซึ่งท่านได้เรียกร้องพวกเขาสู่อัลลอฮฺ และอ่านอัลกุรอานให้พวกเขาฟัง (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 5663, มุสลิม : 1798 สำนวนเป็นของท่าน)

การให้สลามในตอนเข้า-ออก
1. จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :
قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم : «إِذَا انْتَهَى أَحَدُكُمْ إِلَى الْمَجْلِسِ فَلْيُسَلِّمْ، فَإِذَا أَرَادَ أَنْ يَقُومَ فَلْيُسَلِّمْ، فَلَيْسَتِ الأُولَى بِأَحَقَّ مِنَ الآخِرَةِ».
ความว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า “เมื่อผู้ใดไปถึงยังที่ชุมนุม ก็จงให้สลาม และเมื่อต้องการจะปลีกตัวออกมาก็จงให้สลามเช่นกัน เพราะไม่ใช่ว่าการให้สลามครั้งแรกนั้นจะมีความพิเศษ(ควรกระทำ)มากกว่าการให้สลามครั้งหลัง” (หะดีษมีสายรายงานที่ดี บันทึกโดย อบู ดาวูด : 5208 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4340, อัต-ติรมิซีย์ : 2706 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2177, อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ : 183)

ไม่ต้องโค้งตัวเมื่อพบกัน
จากอะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :
قَالَ رَجُلٌ: يَا رَسُولَ اللَّهِ، الرَّجُلُ مِنَّا يَلْقَى أَخَاهُ أَوْ صَدِيقَهُ أَيَنْحَنِى لَهُ؟، قَالَ: «لاَ». قَالَ: أَفَيَلْتَزِمُهُ وَيُقَبِّلُهُ؟، قَالَ: «لاَ». قَالَ: أَفَيَأْخُذُ بِيَدِهِ وَيُصَافِحُهُ؟، قَالَ: «نَعَمْ». 
ความว่า ชายคนหนึ่งได้กล่าวว่า “โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ! คนหนึ่งในหมู่พวกเราที่เจอกับพี่น้องเขา หรือเพื่อนของเขา เขาต้องโค้งตัวให้เขาด้วยหรือไม่ ?” ท่านตอบว่า ”ไม่ต้อง” เขาถามต่อว่า “แล้วเขาต้องโอบกอดและจุมพิตด้วยหรือไม่ ?” ท่านตอบว่า “ไม่ต้อง” เขาถามต่อว่า “แล้วเขาต้องจับมือเขาหรือ ?” ท่านจึงตอบว่า “ใช่แล้ว” (เป็นหะดีษ หะสัน บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ : 2728 สำนวนนี้เป็ฯของท่าน ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2195, อิบนุ มาญะฮฺ : 3702 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อิบนิ มาญะฮฺ : 2987)

คุณค่าของการจับมือกัน
จากอัล-บัรรออ์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«مَا مِنْ مُسْلِمَيْنِ يَلْتَقِيَانِ فَيَتَصَافَحَانِ إِلاَّ غُفِرَ لَهُمَا قَبْلَ أَنْ يَفْتَرِقَا».
ความว่า “ไม่มีมุสลิมสองคนใดที่เจอกัน แล้วต่างยื่นมือจับระหว่างกัน นอกจากทั้งสองนั้นจะได้รับการอภัยโทษก่อนที่จะพรากจากกัน” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดย อบู ดาวูด : 5212 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4343, อัต-ติรมิซีย์ : 2727 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2197)

การจับมือพร้อมกับการโอบกอดให้กระทำกันเมื่อใด ?
ท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวว่า :
كَانَ أصْحابُ النَّبِيِّ  إِذَا تَلاَقُوا تَصَافَحُوْا وَإِذَا قَدِمُوْا مِنْ سَفَرٍ تَعانَقُوا.
ความว่า เหล่าสหายของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อพวกเขาเจอกัน พวกเขาก็จะจับมือกัน และเมื่อพวกเขากลับจากการเดินทางไกล พวกเขาก็จะโอบกอดกัน (เป็นสายรายงานที่ดี บันทึกโดย อัต-เฏาะบะรอนีย์ ใน อัล-เอาส็อฏ : 97, ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ : 2647)

ลักษณะการตอบสลามแก่ผู้ที่ไม่อยู่ต่อหน้า
1. ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ได้รายงานว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวกับเธอว่า :
«يَا عَائِشَةُ، هَذَا جِبْرِيلُ يَقْرَأُ عَلَيْكِ السَّلاَمَ» . فَقَالَتْ : وَعَلَيْهِ السَّلاَمُ وَرَحْمَةُ اللَّهِ وَبَرَكَاتُهُ . تَرَى مَا لاَ أَرَى. 
ความว่า  “โอ้ อาอิชะฮฺ ! มลาอิกะฮฺญิบรีลนี่ได้ให้สลามแก่เธอ” เธอจึงตอบว่า “วะอะลัยฮิสสะลาม วะเราะฮฺมะตุลลอฮิ วะบะเราะกาตุฮฺ” ท่านมองเห็นในสิ่งที่ฉันมองไม่เห็น (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 3217 สำนวนนี้เป็นของท่าน, มุสลิม : 2447)
2. ชายคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วกล่าวว่า :
إِنَّ أَبِى يُقْرِئُكَ السَّلاَمَ. فَقَالَ: «عَلَيْكَ وَعَلَى أَبِيكَ السَّلاَمُ»
ความว่า “พ่อของฉันฝากสลามแก่ท่านด้วย” แล้วท่านก็ตอบว่า “อะลัยกะ วะอะลา อบีกัส สะลาม (ขอความสันติประสบแด่ท่านและพ่อของท่าน)” (หะดีษ หะสัน, บันทึกโดย อะห์มัด : 23492, อบู ดาวูด : 5231 สำนวนนี้เป็นของท่าน ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4358) 

หะดีษเกี่ยวกับการยืนต้อนรับผู้มาเยือนเพื่อช่วยเหลือเขา หรือเพื่อให้เกียรติแก่เขา
1. มีรายงานจากอบู สะอีด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า :
أَنَّ أَهْلَ قُرَيْظَةَ نَزَلُوا عَلَى حُكْمِ سَعْدٍ بنِ مُعَاذٍ، فَأَرْسَلَ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم  إِلَيْهِ، فَجَاءَ فَقَالَ: «قُومُوا إِلَى سَيِّدِكُمْ أَوْ قَالَ خَيْرِكُمْ». 
ความว่า ชาวเผ่ากุร็อยเซาะฮฺได้ตกลงจะยอมรับการติดสินคดีของสะอัด บิน มุอาซ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงส่งคนไปเชิญให้สะอัดมาพบ เมื่อสะอัดมาถึงท่านนบีก็กล่าวว่า “พวกท่านจงลุกขึ้นไปหาหัวหน้าของพวกท่าน – หรือท่านได้กล่าวว่า - คนที่ดีที่สุดของพวกท่าน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 6262 สำนวนเป็นของท่าน, มุสลิม : 1768)
وَفِي لَفْظٍ : «قُوْمُوا إِلَى سَيِّدِكُمْ فَأَنْزِلُوهُ».
และในสำนวนอื่นรายงานว่า “พวกท่านจงลุกขึ้นไปยังหัวหน้าของพวกท่านแล้วพยุงเขาลงมา” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดยอะห์มัด : 25610 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ : 67)
2. อาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ได้กล่าวว่า :
مَا رَأَيْتُ أَحَدًا كَانَ أَشْبَهَ سَمْتًا وَهَدْيًا وَدَلاًّ  بِرَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم مِنْ فَاطِمَةَ كَرَّمَ اللَّهُ وَجْهَهَا، كَانَتْ إِذَا دَخَلَتْ عَلَيْهِ قَامَ إِلَيْهَا فَأَخَذَ بِيَدِهَا وَقَبَّلَهَا وَأَجْلَسَهَا فِى مَجْلِسِهِ، وَكَانَ إِذَا دَخَلَ عَلَيْهَا قَامَتْ إِلَيْهِ فَأَخَذَتْ بِيَدِهِ فَقَبَّلَتْهُ وَأَجْلَسَتْهُ فِى مَجْلِسِهَا.
ความว่า ฉันไม่เคยเห็นใครที่ละม้ายคล้ายคลึงกับท่านรอซูลุลลอฮฺในด้านบุคลิกความเป็นผู้ดี การดำเนินชีวิต และท่าทางมากไปกว่าฟาฏิมะฮฺ – ขออัลลอฮฺทรงให้เกียรติเธอ - ซึ่งเมื่อเธอเข้าหาท่าน ท่านจะลุกขึ้นไปต้อนรับเธอ แล้วจูงมือและจุมพิตเธอ แล้วให้เธอนั่งลงบนที่นั่งของท่าน และเมื่อท่านเข้าหาเธอ เธอก็จะลุกขึ้นไปต้อนรับท่าน แล้วจูงมือแล้วจุมพิตท่าน และพาท่านนั่งลงบนที่นั่งของเธอ (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด : 5217 สำนวนนี้เป็นของท่าน ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4347, อัต-ติรมิซีย์ : 3872 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 3039)

ไม่บังควรที่จะยืนเพื่อทำความเคารพต่อผู้หนึ่ง
1. ท่านมุอาวิยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้รายงานว่าท่านได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  กล่าวว่า :
«مَنْ سَرَّهُ أَنْ يَتَمَثَّلَ لَهُ الرِّجَالُ قِيَامًا فَلْيَتَبَوَّأْ مَقْعَدَهُ مِنَ النَّارِ».  .
ความว่า  “ผู้ใดที่ชื่นชอบให้คนอื่นๆ ยืนขึ้นเพื่อให้ทำความเคารพเขา เขาจงเตรียมที่พำนักของเขาได้ในนรก” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด : 5229 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4357, อัต-ติรมิซีย์ตามสำนวนนี้ : 2755 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2212)

การให้สลามสามครั้งเมื่อไม่มีคนได้ยิน
ท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้รายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า :
أَنَّهُ كَانَ إِذَا تَكَلَّمَ بِكَلِمَةٍ أَعَادَهَا ثَلاَثًا حَتَّى تُفْهَمَ عَنْهُ، وَإِذَا أَتَى عَلَى قَوْمٍ فَسَلَّمَ عَلَيْهِمْ سَلَّمَ عَلَيْهِمْ ثَلاَثًا 
ความว่า ท่าน(นบี)นั้น เมื่อพูดคำใด ท่านจะทวนซ้ำสามครั้งจนคนเข้าใจ และเมื่อท่านมาหาคนกลุ่มใด ท่านก็จะให้สลามแก่พวกเขา ท่านจะให้สลามแก่พวกเขาสามครั้ง (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 95)

การให้สลามแก่กลุ่มคน
จากอะลี บิน อบีฏอลิบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่าท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«يُجْزِئُ عَنِ الْجَمَاعَةِ إِذَا مَرُّوا أَنْ يُسَلِّمَ أَحَدُهُمْ، وَيُجْزِئُ عَنِ الْجُلُوسِ أَنْ يَرُدَّ أَحَدُهُمْ».
ความว่า “เพียงพอสำหรับชนกลุ่มหนึ่งเมื่อพวกเขาผ่าน(กลุ่มคนอื่นๆ)ด้วยการให้สลามของคนคนเดียวในหมู่พวกเขา และเพียงพอสำหรับชนกลุ่มหนึ่งที่นั่งอยู่ด้วยการตอบสลามเพียงคนเดียวในหมู่พวกเขา” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดยอบู ดาวูด : 5210 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4342 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ : 1412 และ ดู อัล-อิรวาอ์ : 778)

ไม่กล่าวหรือตอบสลามในขณะกำลังถ่ายทุกข์
1. อิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ได้รายงานว่า :
أَنَّ رَجُلاً مَرَّ وَرَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَبُولُ فَسَلَّمَ فَلَمْ يَرُدَّ عَلَيْهِ.
ความว่า มีชายคนหนึ่งได้ผ่านมาขณะที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กำลังถ่ายปัสสาวะอยู่ แล้วเขาก็ให้สลาม แต่ท่านไม่ได้ตอบสลามแก่เขา (บันทึกโดยมุสลิม : 370)
2. จากอัล-มุฮาญิร บิน กุนฟุซ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  ได้รายงานว่า :
أَنَّهُ أَتَى النَّبِىَّ صلى الله عليه وسلم وَهُوَ يَبُولُ فَسَلَّمَ عَلَيْهِ فَلَمْ يَرُدَّ عَلَيْهِ حَتَّى تَوَضَّأَ ثُمَّ اعْتَذَرَ إِلَيْهِ فَقَالَ «إِنِّى كَرِهْتُ أَنْ أَذْكُرَ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ إِلاَّ عَلَى طُهْرٍ». 
ความว่า ท่านได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ขณะที่ท่านกำลังถ่ายปัสสาวะอยู่ ท่านได้ให้สลามแก่ท่าน แต่ท่านไม่กล่าวตอบจนกระทั่งได้ทำวุฎูอ์(อาบน้ำละหมาด)เสร็จ แล้วท่านก็ขอโทษโดยกล่าวว่า “ฉันไม่อยากที่จะเอ่ยนามของอัลลอฮฺที่สูงส่งนอกจากในสภาพที่สะอาด” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูดตามสำนวนนี้ : 17 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 13, อัน-นะสาอีย์ : 38 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัน-นะสาอีย์ : 37)

          ส่งเสริม (อิสติห์บาบ) ให้สร้างความคุ้นเคยกับผู้มาเยือนและสอบถามเกี่ยวกับตัวตนของคนแปลกหน้าเพื่อที่จะได้รู้จักและให้การต้อนรับได้ถูกต้องตามสถานะของเขา
จากอบู ญัมเราะฮฺ กล่าวว่า :
كُنْتُ أُتَرْجِمُ بَيْنَ ابْنِ عَبَّاسٍ وَبَيْنَ النَّاسِ، فَقَالَ : إِنَّ وَفْدَ عَبْدِ الْقَيْسِ أَتَوْا النَّبِىَّ  صلى الله عليه وسلم  فَقَالَ: «مَنِ الْوَفْدُ - أَوْ مَنِ الْقَوْمُ». قَالُوا: رَبِيعَةُ. فَقَالَ: «مَرْحَبًا بِالْقَوْمِ - أَوْ بِالْوَفْدِ - غَيْرَ خَزَايَا وَلاَ نَدَامَى».
ความว่า ฉันเคยเป็นล่ามระหว่างอิบนุอับบาสกับคนอื่นๆ โดยท่านเล่าว่า เคยมีคณะของอับดุลก็อยส์มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านจึงถามว่า “คณะนี้เป็นใครกัน หรือพวกเขาเป็นใคร?” พวกเขาตอบว่า คือ “(เผ่า)เราะบีอะฮฺ” ท่านจึงกล่าวว่า “ยินดีต้อนรับชนเผ่า(เหล่าคณะ) โดยไม่ต้องเขินอาย(เกรงใจ)และเสียดาย” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 87 ตามสำนวนนี้, มุสลิม : 17)

          อิสติห์บาบ คือ ระดับหนึ่งของมาตรการกวดขันให้กระทำ หมายถึงการสนับสนุนหรือการเร่งเร้าให้กระทำ แต่ไม่ถึงขั้นบังคับ โดยผู้ที่กระทำจะได้ผลบุญที่ล้ำเลิศในขณะที่ผู้ที่ไม่กระทำจะไม่ได้รับบาปแต่อย่างใด(ผู้แปล)
ไม่ส่งเสริมให้เริ่มสลามด้วยคำว่า “อะลัยกัสสลาม”
1.จากญาบิร บิน สุลัยม์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :
أَتَيْتُ النَّبِىَّ صلى الله عليه وسلم فَقُلْتُ: عَلَيْكَ السَّلاَمُ. فَقَالَ: «لاَ تَقُلْ عَلَيْكَ السَّلاَمُ، وَلَكِنْ قُلِ السَّلاَمُ عَلَيْكَ».
ความว่า ฉันได้ไปหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วฉันก็กล่าวว่า “อะลัยกัสสลาม” ท่านจึงตอบว่า “ท่านจงอย่ากล่าวว่า อะลัยกัสสลาม แต่จงกล่าวว่า อัสสลามุอะลัยกะ” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด ตามสำนวนนี้ : 5209 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4341, อัต-ติรมีซีย์ : 2722 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2189)
2. และในสำนวนอื่น ระบุว่า :
«فَإِنَّ عَلَيْكَ السَّلاَمُ تَحِيَّةُ الْمَوْتَى».
ความว่า “เพราะแท้จริงแล้วคำว่า อะลัยกัสสลาม เป็นคำทักทายแก่คนตาย” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด : 5209  ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4341)

มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์
จากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์
แปลโดย: สุกรี นูร จงรักสัตย์
Islam House

http://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=46&id=1101


และอีกบทความหนึ่ง

เรามาดูถึงความสำคัญของการให้สลามกันเสียก่อนนะ

           จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า : قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم: «وَالَّذي نَفْسي بِيَدِهِ لاَ تَدْخُلُونَ الْجَنَّةَ حَتَّى تُؤْمِنُوا، وَلاَ تُؤْمِنُوا حَتَّى تَحَابُّوا، أَوَلاَ أَدُلُّكُمْ عَلَى شَىْءٍ إِذَا فَعَلْتُمُوهُ تَحَابَبْتُمْ؛ أَفْشُوا السَّلاَمَ بَيْنَكُمْ» . ความว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ขอสาบานกับผู้ที่ชีวิตฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า พวกท่านจะไม่เข้าสวรรค์จนกว่าพวกท่านจะศรัทธา และพวกท่านจะไม่ศรัทธาจนกว่าพวกท่านจะรักใคร่ปรองดองกัน พวกท่านจะเอาไหม ฉันจะบอกวิธีหนึ่งที่เมื่อพวกท่านปฏิบัติแล้ว พวกท่านก็จะรักใคร่ซึ่งกันและกัน ? จงแพร่สลามในหมู่พวกท่าน” (บันทึกโดยมุสลิม : 54)
จากคำถามข้างต้น คงต้องรวมประเด็นการตอบไว้ดังนี้
ที่ถามว่า
 
          1.การเขียนคำให้สลามและรับสลาม หากเราจะเขียนเพียงคำว่าสลามหรือรับสลาม ถือว่าใช้ได้ไหม
          2.และหากเขาส่งคำเพียงคำว่า "สลาม" ถือว่าเขาได้ให้สลามเราแล้วหรือยัง และหากเขาตอบเพียงคำว่า "รับสลาม"  ถือว่าเขานั้นได้รับสลามเราแล้วหรือยังและการใช้ไอคอนในการให้สลามและรับสามารถทำได้ไหม (การให้สลามของเราสมบูรณ์ไหม)
 
          ก่อน อื่นเราคงต้องมาดูหลักการศาสนาก่อนว่า การทักทายพี่น้องมุสลิมนั้น หลักการได้ส่งเสริมและมีรูปแบบ วิธีการที่ศาสนากำหนดนั้นไว้อย่างไร

          วิธีการและรูปแบบตามฉบับของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมในการให้สลาม

           จาก อิมรอน บิน หุศ็อยน์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า : جَاءَ رَجُلٌ إِلَى النَّبِىِّ صلى الله عليه وسلم، فَقَالَ: السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ. فَرَدَّ عَلَيْهِ السَّلاَمَ، ثُمَّ جَلَسَ. فَقَالَ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم: «عَشْرٌ». ثُمَّ جَاءَ آخَرُ، فَقَالَ: السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللَّهِ. فَرَدَّ عَلَيْهِ، فَجَلَسَ. فَقَالَ: «عِشْرُونَ». ثُمَّ جَاءَ آخَرُ، فَقَالَ: السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللَّهِ وَبَرَكَاتُهُ. فَرَدَّ عَلَيْهِ، فَجَلَسَ. فَقَالَ: «ثَلاَثُونَ». ความว่า : มีชายคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วกล่าวว่า“อัสสลามมุอะลัยกุม” ท่านจึงตอบสลาม แล้วเขาก็นั่งลง แล้วท่านนบีก็บอกว่า “ได้สิบ”

          ต่อมามีคนอื่นมาหาอีก เขากล่าวว่า “อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะฮฺมะตุลลอฮฺ” ท่านจึงตอบกลับ แล้วเขาก็นั่งลง ท่านบอกว่า “ได้ยี่สิบ”

           ต่อมาก็มีคนอื่นมาหาอีก เขากล่าวว่า “ อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะฮฺมะตุลลอฮฺ วะบะเราะกาตุฮฺ” ท่านก็ตอบกลับ แล้วเขาก็นั่งลง ท่านบอกว่า “ได้สามสิบ” (เป็น หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด : 5195 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4327, อัต-ติรมิซีย์ : 2689 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2163)

และมาดูตัวอย่างของการรับสลาม ผู้ที่ไม่อยู่ต่อหน้า

           ท่าน หญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ได้รายงานว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวกับเธอว่า : «يَا عَائِشَةُ، هَذَا جِبْرِيلُ يَقْرَأُ عَلَيْكِ السَّلاَمَ» . فَقَالَتْ : وَعَلَيْهِ السَّلاَمُ وَرَحْمَةُ اللَّهِ وَبَرَكَاتُهُ . تَرَى مَا لاَ أَرَى. ความว่า “โอ้ อาอิชะฮฺ ! มลาอิกะฮฺญิบรีลนี่ได้ให้สลามแก่เธอ” เธอจึงตอบว่า “วะอะลัยฮิสสะลาม วะเราะฮฺมะตุลลอฮิ วะบะเราะกาตุฮฺ” ท่านมองเห็นในสิ่งที่ฉันมองไม่เห็น (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 3217 สำนวนนี้เป็นของท่าน, มุสลิม : 2447)

-----------------------
           และดั่งคำฟัตวาจาก Maulana Mahmood Ahmed Mirpuri ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดี อาระเบีย
 
"อัสลามุอาลัยกุม" หรือ เพียงแค่ "สลาม"
          ถามว่า บางคนมีแนวโน้มว่าจะกล่าว เพียงแค่ "สลาม" หรือ "สลาม อาลัยกุม" แทนที่จะพูดว่า "อัสลามุอาลัยกุม"     สิ่งนี้เป็นที่อนุญาตหรือไม่ ???
Zein al-Abideen, Halifax
------------------------
          คำตอบ  "สลาม อาลัยกุม" เป็นที่อนุญาตเช่นกัน  แต่ไม่เป็นที่แนะนำให้ใช้แทน "อัสลามมุอาลัยกุม"  ผู้ที่กล่าวเพียงคำว่า "สลาม" นั้นไม่ถูกต้อง และ เป็นเพียงแฟชั่นสมัยใหม่   อัลกุรอานได้สั่งว่า เราควรทักทายซึ่งกันและกันด้วยคำที่เหมาะสมนั่นก็คือ คำว่า "อัสลามุอาลัยกุม วะเราะมะตุลลอฮ วะบารอกาตุฮ"
 Country Of Origin : Saudi Arabia
State : Riyadh
Author/Scholar : The Late Maulana Mahmood Ahmed Mirpuri
-----------------------
http://infad.usim.edu.my/modules.php?op=modload&name=News&file=article&sid=3064
 
ฉะนั้น จากคำฟัตวาข้างต้นและหลักฐานจากหะดิษที่นำเสนอมานั้น ย่อมบ่งบอกว่า เรื่องของการให้สลามนั้น เป็นเรื่องของ อิบาดะห์
 
          ดังนั้น การให้สลามหรือการรับสลาม หากมิได้เป็นไปตามแบบอย่างและวิธีการกล่าวตามที่ศาสนากำหนดไว้ ก็ไม่เป็นที่อนุญาตใน การที่เรานั้นจะใช้คำอื่นแทน หรือถ้อยคำใดๆอื่น หรือสัญลักษณ์(ไอคอน)อื่นๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายๆสำหรับบรรดาหนุ่มๆสาวในปัจจุบัน เพราะการให้ สลามนั้น ถือเป็นอิบาดะห์ ที่จะนำมาซึ่งการได้รับผลบุญในการให้สลาม และนำมาซึ่งการที่ผู้รับสลามนั้น  จำเป็นที่จะต้องรับสลาม เพราะการให้สลามนั้นเป็นสุนนะห์ แต่การรับสลาม คือ วาญิบนั่นเอง
--------------------
          3.หรือ จะต้องให้เขาเขียนว่า "อัสลามุอาลัยกุม" ถึงจะเป็นการให้สลาม และรับว่า "วะอาลัยกุมสลาม" ถึงจะเป็นการรับ อย่างที่น้อยที่สุดในการเขียน
 
          ดั่งที่นำเสนอหล่ะนะ....หรือจะ“ได้แค่สิบ”หรือจะ “ได้ยี่สิบ” แล้วใครเล่าจะไม่เอา "สามสิบ"...ว่าไหม
--------------------------------------
 
ข้อแนะนำและฉุดคิด
 
          การ ให้สลามหรือการรับสลาม โดยใช้ถ้อยคำเพียงสั้นๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายดายและไม่ยุ่งยากต่อ การกล่าวหรือการพิมพ์ หรือสาเหตุใดก็ตามแต่ ดั่งที่ปรากฎต่อบรรดาหนุ่มๆสาวๆในปัจจุบันนั้น ไม่เพียงแต่ จะไม่ได้รับผลบุญซึ่งการกระทำที่ผิดรูปแบบและวิธีการที่ศาสนาได้กำหนดไว้มา ก่อนแล้วว่า จะต้องกล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ ถึงจะได้รับผลบุญเท่านั้นเท่านี้ แต่เกรงว่าจะเป็นการอุตริกรรมในเรื่องราว ของศาสนา อันเนื่องจากเราได้บัญญัติรูปแบบ วิธีการ สัญลักษณ์ต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายๆ และเกิดความเข้าใจที่ผิด คิดว่า นั่นคือสิ่งที่ศาสนาอนุญาตและสามารถกระทำได้เพราะมันคือรูปแบบหนึ่งที่ท่าน รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมเคยกล่าวย่อเป็นสัญลักษณ์ไว้หรือบรรดาศอฮาบะห์เคยใช้ในการกล่าวเช่น เดียวกัน..
 
          ** หากเราจะคิดว่า ใช่ซิ ความล้าหลังในสมัยอดีตที่ยังไม่มีเทคโนโลยีอย่างสังคมปัจจุบันจะเป็นเหตุ หนึ่งของการที่เรานั้นจะคิดว่า ในสมัยนั้น ก็ต้องใช้ คำกล่าว ถ้อยคำแบบนั้นอยู่แล้วก็ในเมื่อเทคโนโลยีในการผลิตไอคอน หรือสัญลักษณ์ต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายๆนั้น ก็คงจะมีขึ้นไม่ได้เป็นแน่ แต่พึงทราบเถิดนะว่า ปัจจัยความเอื้ออำนวยในสมัยอดีต ต่อการที่จะคิดค้น ไอคอนของการกล่าวการให้สลามหรือการรับสลามนั้น ก็คงมีไม่น้อยกว่าในสมัยปัจจุบันเหมือนกัน เพราะใช่ว่าจะไม่มีอะไรเลยที่จะเป็นสิ่งที่สามารถจดบันทึกและการสรรหาคำพูด มากล่าวเช่นเดียวกัน.....ว่าไหม....
 
วัลลอฮฮุอะลัม

วัสลามุอาลัยกุม วะเราะฮฺมาตุลลอฮิ วะบะเราะฮฺกาตุฮฺ

-----------------------------------------------------------------------------------------------

 ท้ายด้วย วัสสลามุอาลัยกุม หรือเพียงแค่ "วัสสลาม"

             ถาม - อนุญาตให้ลงท้ายจดหมายด้วย "วัสลาม"แทนที่จะกล่าวว่า “วัสสลามุอาลัยกุม” หรือไม่?
--------------------------------------------------------

การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ

             ตอบ - การลงท้ายจดหมายด้วยคำว่า “วัสลาม” ถือว่ากระทำได้ และไม่จำเป็นต้องเขียนให้จบประโยค (เช่น วัสลามุอะลัยกุม) เพราะการเขียนย่อว่า “วัสลาม” นั้น เจตนาของผู้เขียนก็คือ “วัสลามุอะลัยกุม” แต่ถ้าผู้ส่งจะลงท้ายด้วย “วัสลามุอะลัยกะ” หรือ “วัสลามุอะลัยกุม” ก็เป็นการดีกว่า ท่านอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ได้เขียนคำลงท้ายจดหมายที่ท่านส่งไปยังท่านชุร็อยหฺ ว่า “วัสลามุอะลัยกะ”  [บันทึกโดย อันนะสาอีย์ 5304] เช่นเดียวกับท่านอุมัรฺ บิน อับดิลอะซีซ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ที่ลงท้ายจดหมายของท่านไปหาคนหนึ่งจากคนงานของท่านด้วยประโยคดังกล่าวเช่นเดียวกัน [ดู อัลมุวัฏเฏาะอ์ บท การญิฮาด]
การศรัทธาของคน ๆ หนึ่งจะยังไม่สมบูรณ์จนกว่าเขาจะรักพี่น้อง (มุสลิม) ของเขา เช่นเดียวกับที่เขารักตัวของเขาเอง
(บันทึกโดย บุคอรี-มุสลิม)

เท้า ทั้งสองของลูกหลานอาดัมจะยังไม่ก้าวเดินไปไหนในวันกิยามะฮฺ จนกว่าจะถูกถามเกี่ยวกับอายุของเขาหมดไปในทางใด จากความรู้ของเขาปฎิบัติตัวอย่างไร จากทรัพย์สมบัติของเขาได้มาและใช้จ่ายไปในทิศทางใด และจากร่างกายของเขาทรุดโทรมลงไปในทางใด  
(บันทึกโดย ติรมีซีย์ )
http://www.muslimpsu.net/board/index.php?topic=156.0;wap2

ลืมละหมาดทำอย่างไร

มีคำถามที่น่าสนใจมาก ๆ และมีคำตอบ ลองตามมาดูซิคะ

คำถามจากชายท่านหนึง
สลามครับ: ถ้าเราลืมละหมาดต้องทำไงคับ? 

วะอาลัยกุมุสลาม 

คำตอบ : ต้องละหมาดชดเมื่อนึกขึ้นได้
อัลลอฮได้ตรัสไว้ว่า: وَأَقِمِ الصَّلاةَ لِذِكْرِي
ความว่า: และจงละหมาดเพื่อรำลึกถึงข้า"

ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าวว่า
«مَنْ نَسِيَ صَلاةً، أَوْ نَامَ عَنْـهَا، فَكَفَّارَتُـهَا أَنْ يُصَلِّيَـهَا إذَا ذَكَرَهَا»
ความว่า “ผู้ใดที่ลืมละหมาดหรือเผลอหลับไปจนเลยเวลาละหมาดให้เขาละหมาดชดเมื่อนึกขึ้นได้” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 597 และมุสลิม เลขที่: 684 สำนวนนี้เป็นของมุสลิม)

ดูเสริมได้ที่ :-
سورة طه: آية 14
(สุเราะห์ ฏอฮา : 14)

فتاوى نور على الدرب
الشيخ عبدالعزيز بن باز
المجلد السابع ص 110
จากฟัตวา นูร อะลัดดัรบฺ
ของชัยคฺ อับดุล-อะซิส บิน บาซ
เล่มที่ 7 หน้าที่ 110

วัลลอฮุอัม

จาก facebook อิสลาม ถาม ตอบ


อีกคำตอบหนึ่ง

มีข้อสงสัยที่เก็บกดมานานค่ะ 

ช่วยตอบหน่อยน่ะค่ะ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองบ่อยไม่รู้ว่าที่ตัวเองใช้วิธีนั้นๆแก้ปัญหามันจะถูกต้องรึเปล่า

-ถ้าเกิดว่าไมค์เสีย มะมุม(ผู้หญิง)ซึ่งไม่เห็นอิหม่าม ไม่ได้ยินที่อีหม่ามตักบีร และสลามก่อนอิหม่ามต้องละหมาดใหม่หรือไม่?

-ถ้าอิหม่ามลุกขึ้น เพิ่มจำนวนรอกาอัต แต่มะมุม(ผู้หญิง)ซึ่งไม่เห็นอิหม่าม นึกว่าท่านตักบีรเพื่อนั้งตะญัต(รู้แน่ๆว่าเป็นรอกาอัตสุดท้ายแล้ว) ก็เลยนั้งตะญัตกัน จนอิหม่ามตักบีรเพื่อรอกัวะจึงไดรู้ พอท่านเอียะตีดาลท่านก็อ่านวีริท(กุนุต)ซึ่งยาวมาก มะมุม(ผู้หญิง)จำเป็นต้องลุกขึ้นจากตะญัตหรือไม่(ในตอนนั้นไม่ได้ลุก แต่ซุญุจซะวีร่วมกับอิหม่าน ใช้ได้หรือไม่?

-ในกรณีเดียวกัน อิหม่ามเพิ่มจำนวลรอกาอัต แล้วมะมุมซึ่งละหมาดไม่ทัน(อาจจะเป็น๑หรือ๒รอกาอัต)ต้องเพิ่มหรือไม่? 
เช่นเราละหมาดทันรอกาอัตที่๒ โดยปกติเราจะลุกขึ้นเพิ่ม๑รอกาอัต แต่อิหม่ามละหมาดเกินเราต้องเพิ่ม๑รอกาอัตที่ว่านั้นหรือไม่ ?
แล้วถ้าเราไม่ทัน๒รอกาอัต ตอนที่อิหม่ามซุญุจซะวีเราต้องซุญุจ(หลังตะญาสุดท้ายของอิหม่าม)ด้วยหรือไม่? ถ้าต้องสุญุตแล้ว(ในตะญาสุดท้ายของเรา)ต้องสุญุตอีกมั่ย?

-ถ้าเราลืม เผลอลุกขึ้นยืนในตอนที่อิหม่ามนั้งอ่านตะญา จะทำยังไงค่ะ ละหมาดตามปกติ(ตามขั้นตอนแล้วนั่งอ่านตะญัตกับอิหม่าม)แล้วสุญุซ่ะวี หรือว่านั่งตะญาตามอิหม่าม(พอรู้ว่าผิดก็นั้งตามอิหม่ามเลย คือไม่รอกัวะ ไม่อะไรเลย) หรือว่าละหมาดใหม่ค่ะ?

-เคยได้ยินมาว่าเวลาละหมาด(ผู้หญิง)ไม่ควรใส่กางเกงใน ถ้าละหมาดญามาอ่ะห์ก็จะได้บุญแค่๑ดัรจะห์ แต่ว่าถ้าเราไปเที่ยว(เดินทางไกล) ใส่กางเกงไป หรือว่าไปในสถานที่ๆไม่คุ้นเคย ไม่รู้ว่าปลดภัยมั่ย ไม่ถอดก.ก.น.ได้มั่ยค่ะ 

-เราไปเที่ยว(เดินทางไกล)ใช่มั่ยค่ะ ต้องแวะอาบน้ำตามปั้มน้ำมันหรือห้องน้ำสาธารณ ไม่รู้ว่าปลดภัยมั่ย(กลัวโดนแอบถ่าย) ไม่กล้าอาบน้ำวาญิบ(เฮด)คือถ้าอาบมันต้องพิถีพิถันหน่อยเพื่อให้มั่นใจว่าสะอาดจริง ถ้าอาบน้ำปกตินี่ไม่เกินห้านาที (ถูตัวเร็วๆ รีบสวมเสื้อ กางเกงแล้วทำกิจอื่นต่อ) แล้วเราจะรอให้ไปยังที่ๆค่อนข้างมั่นใจว่าปลอดภัยได้มั่ยค่ะ? ต้องละหมาดชดมั่ยค่ะ?

-มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ต้องเดินทางไกล(กับรถบัสรวม) ทั้งวันนั้นไม่ได้ละหมาดเลยค่ะ(ตั้งแต่ซุบฮ์เลยค่ะ) ซุฮรีกับอัสรีเราเนี๊ยตจะละหมาดรวม มัฆริบกับอีสาก็เช่นเดียวกัน ไปเจอที่ละหมาดก็ใกล้ซุบฮฺของอีกวัน 
จะละหมาดชดยังไงค่ะ? จำนวนรอกาอัตปกติคือซุบฮฺ2/ ซุฮรี4 /อัสรี4/ มัฆริบ3 อีสา4
หรือว่าละหมาดรวม คือซุบฮฺ2 /ละหมาดรวมซุฮรีกับอัสรี4 /ละหมาดรวม มัฆริบกับอีสา7) 
ละหมาดวักตูอะไรก่อน?แล้วเนี๊ยตยังไง?

-แล้วถ้าเราขาดละหมาดในตอนที่ยังเด็ก(ประมาณ10ขวบ)เพิ่งมาประจำเดือนครั้งเดียว เมื่อหลายปีมาแล้วต้องชดมั่ยค่ะ? ชดยังไงค่ะ?

-เราหมดน้ำละหมาดแต่ว่าเราละหมาดอยู่ตรงกลางมัสยิดใหญ่ จะออกไม่สะดวก ก็เลยละหมาดต่อแบบเนียนๆอย่างนี้บาปมั่ยค่ะ

-ถ้าผู้หญิง(ยังไม่ได้แต่งงาน)ถูกข่มขืนไม่ยินยอมและสู้ไม่ได้ถือว่าผู้หญิงคนนี้ซีนัรมั่ย? ต้องโดนลงโทษรึเปล่า? แล้วลูกที่เกิดมาเป็นลูกซีนัรรึเปล่า?

-เขาซีนัรกันแล้วผู้หญิงท้อง ผู้ใหญ่ก็จับแต่งงาน ลูกที่เกิดมาเป็นลูกซีนัรใช่มั่ยค่ะ? แล้วลูกคนที่๒ที่เกิดกับชายหญิงคู่นี้ถือเป็นลูกซีนัรรึเปล่า?

ญาซากัลลอฮ์ฮุค็อยรอน

by: bb - aimableness@hotmail.com - 1/5/2552


คำตอบ : 

อัสสลามุอะลัยกุมครับ

1. คำตอบ กรณีที่มัสญิดเกิดไมค์เสีย แล้วเราไม่เห็นการกระทำของอิมาม หรือไม่มีมะมูมชายเป็นกล่าวบอกความเคลื่อนไหวของอิมาม (มุบัลลิฆ) เช่นนี้ก็ให้มะมูมหญิงซึ่งอยู่ด้านล่าง หรือไม่ได้ยิน หรือไม่เห็นการกระทำของอิมาม เนียตแยกการตามอิมาม แล้วนมาซตามลำพังจนกระทั่งเสร็จนมาซได้นะครับ

2. คำตอบ ในกรณีที่อิมามลืมจำนวนร็อกอะฮฺในสภาพที่เกินร็อกอะฮฺ เช่นนี้วาญิบจะต้องเตือนอิมามให้ลงมานั่ง แต่ถ้าไม่มีใครเตือน หรือเตือนแล้วอิมามไม่ลงมานั่ง เช่นนี้ให้มะมูมทำได้สองวิธี วิธีแรก ให้มะมูมนั่งอ่านตะชะฮฺฮุด, เศาะละวาต และอ่านดุอาอ์ก่อนให้สลาม แต่ยังไม่ต้องให้สลาม รอให้สลามพร้อมกับอิมาม วิธีที่สอง ให้เรานั่งตะชะฮฺฮุด, เศาะละวาต และดุอาอ์ก่อนให้สลามจากนั้นก็ให้สลามเลิกนมาซเลย

3. คำตอบ ในกรณีที่เรามานมาซสายไม่ทันอิมาม เมื่ออิมามนมาซเกิน เช่นนี้ เราก็ตามอิมามไม่ได้ ก็ให้เรานั่งลงรอจากนั้นเมื่ออิมามให้สลาม เราก็นมาซของเราให้ครบที่เราขาดเท่านั้น ส่วนเรื่องการสุญูดสะฮฺวีย์ แม้ว่ามะมูมจะไม่ผิด แต่ความผิดอยู่ที่อิมามก็ตาม มะมูมก็ต้องสะญูดด้วย เพราะถือว่าเราตามอิมามนั่นเอง ส่วนกรณีที่เราลุกขึ้นนมาซส่วนที่เขาเสร็จแล้ว เราไม่ต้องสุญูดสะฮฺวีย์อีกแล้วนะครับ


4. คำตอบ กรณีที่เราลืมแล้วยืนขึ้นขณะอิมามนั่งตะชะฮฺฮุดนั้น เมื่อนึกขึ้นได้ ก็ให้เราลงมานั่งตะชะฮฺฮุดตามอิมามเช่นนี้ถือว่าพอเพียงแล้วครับ ไม่ต้องนมาซใหม่ หรือไม่ต้องสุญูดสะฮฺวีย์แต่อย่างใดนะครับ

5. คำตอบ การที่มีคนกล่าวอ้างข้างต้น ถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ ศาสนาอนุญาตให้เราสวมใส่กางเกงชั้นในขณะนมาซนมาซไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย หรือไม่ว่าเราจะอยู่บ้าน หรือเดินทางก็ตาม ส่วนที่อ้างว่าถ้าผู้หญิงนมาซญะมาอะฮฺสวมใส่กางเกงในจะได้ผลบุญน้อยกว่าไม่สวมใส่เป็นการอ้างที่เหลวไหลสิ้นดี เพราะไม่มีหลักฐานจากท่านนบีที่กล่าวแบบนั้นนะครับ

6. คำตอบ กรณีที่เราหมดรอบเดือน ระหว่างเดินทาง เมื่อสถานที่ที่เราจะอาบน้ำไม่สะดวกจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่นนี้ ก็อนุญาตให้เราไปอาบน้ำยกหะดัษยังสถานที่ที่เราจะไปพักอาศัย หรือห้องน้ำสะดวกกว่าได้นะครับ ส่วนเรื่องเวลานมาซเราก็ต้องนมาซเวลาที่ผ่านมาด้วยอยู่แล้ว เช่น เข้าเวลาซุฮฺริ เราหมดรอบเดือน แต่ยังอาบน้ำไม่ได้ แต่ครั้นเราอาบน้ำยกดัษแล้ว แต่อยู่ในนมาซอัศริ เช่นนี้ เราก็ต้องนมาซซุฮฺริ และอัศรินั่นเองครับ

7. คำตอบ กรณีที่เราเดินทางไกล โดยขณะนั้นเราอยู่บนรถ ซึ่งรถไม่ยอมจอดให้พัก เช่นนี้เราสามารถนมาซบนรถได้นะครับ แต่เอาล่ะเหตุการณ์ที่ผ่านมาเราไม่ได้นมาซบนรถ เช่นนี้เราขาดนมาซกี่เวลาก็ต้องนมาซชดใช้ให้ครบ ในสภาพที่ย่อ (เพราะเราอยู่ในระหว่างเดินทาง) โดยให้เราเรียงลำดับการนมาซ กล่าวคือให้นมาซศุบหฺ 2ร็อกอะฮฺ, เสร็จแล้วก็ให้นมาซซุฮฺริ 2 ร็อกอะฮฺ เสร็จแล้วก็ให้นมาซอัศริ 2 ร็อกอะฮฺเสร็จแล้วก็ให้นมาซมัฆริบ 3 ร็อกอะฮฺ เสร็จแล้วก็ให้นมาซอิชาอ์ 2 ร็อกอะฮฺ, ส่วนการเนียตก็ให้เราเนียตนมาซย่อและรวมนั่นเองครับ

8. คำตอบ กรณีที่ศาสนาจะเอาผิดในเรื่องการนมาซนั้น ในกรณีที่เรามีรอบเดือน ฉะนั้นเมื่อมีรอบเดือนเมื่อไหร่เราไม่นมาซถือว่าเรามีความผิด แต่ทว่าในอดีตเราไม่ได้นมาซมาเลยตั้งแต่เรามีรอบเดือน หรือนมาซบ้างทิ้งบ้าง พอมาวันนี้เราเรียนรู้ว่าสิ่งนั้นเรากระทำความผิด เช่นนี้ก็ให้เราเตาบะฮฺตัวต่อพระองค์อัลลอฮฺเพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องนมาซชดใช้การนมาซที่เราทิ้งมาในอดีตแต่อย่างใดทั้งสิ้นครับ

9. คำตอบ กรณีที่เราเสียน้ำนมาซ ขณะที่เรานมาซอยู่ในมัสญิด เช่นนี้ถ้าตามหลักการก็ให้เราเดินออกมาได้เลย ซึ่งการเดินตัดหน้าผู้นมาซอันเนื่องจากความจำเป็นข้างต้น ศาสนาอนุโลมให้กระทำได้ ประการต่อมา เมื่อเราเสียน้ำนมาซ ไม่อนุญาตให้เรานมาซแล้วล่ะครับ ฉะนั้นหากเราเสียน้ำนมาซแล้วไม่ตัดสินใจเดินออกมาจากมัสญิด เช่นนี้ก็ให้เรานั่งอยู่ในที่ของเรา ครั้นนมาซเสร็จเราก็ออกมาอาบน้ำนมาซ แล้วกลับไปนมาซใหม่ก็ได้ครับ

10. คำตอบ กรณีที่เราถูกบังคับ เช่นนี้ เราถูกข่มขืน เราก็ต่อสู้สุดความสามารถ แต่ก็แพ้จนถูกข่มขืน เช่นนี้ผู้ถูกข่มขืนไม่มีความผิดในฐานะทำซินา และไม่ถูกลงโทษด้วย ส่วนถ้าเรารู้ว่าตั้งครรภ์ เช่นนี้นักวิชาการอนุญาตให้ทำแท้งได้สำหรับสตรีที่ถูกข่มขืน แต่ถ้าสมมติว่า ตั้งครรภ์จนลูกออก เช่นนี้ตามหุก่มก็ต้องถือว่าเป็นลูกซินา แต่กรณีข้างต้นผู้ถูกข่มขืนไม่มีความผิดแต่อย่างใดทั้งสิ้น (ดั่งที่อธิบายมาแล้วข้างต้น)

11. คำตอบ กรณีที่ชายหนึ่งหญิงหนึ่งทำซินากัน แล้วนางเกิดตั้งท้อง จากนั้นเขาทั้งคู่ก็แต่งงานกัน เช่นนี้ลูกที่เกิดมาเรียกว่า ลูกซินานะครับ เพราะเด็กตั้งครรภ์ก่อนจะแต่งงานกัน ส่วนภายหลังที่มีลูกคนต่อไป หลังจากแต่งงานกันแล้ว เช่นนี้ไม่เรียกว่าลูกซินาแล้วล่ะครับ. والله أعلم
by: มุรีด ทิมะเสน - mureed@mureed.com - 14/1/52 19:24
http://www.mureed.com/mr_talk/bview.asp?id=11299
ภาพจากอินเตอร์เน็ต