คำถามจากชายท่านหนึง
สลามครับ: ถ้าเราลืมละหมาดต้องทำไงคับ?
สลามครับ: ถ้าเราลืมละหมาดต้องทำไงคับ?
วะอาลัยกุมุสลาม
คำตอบ : ต้องละหมาดชดเมื่อนึกขึ้นได้
อัลลอฮได้ตรัสไว้ว่า: وَأَقِمِ الصَّلاةَ لِذِكْرِي
ความว่า: และจงละหมาดเพื่อรำลึกถึงข้า"
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าวว่า
«مَنْ نَسِيَ صَلاةً، أَوْ نَامَ عَنْـهَا، فَكَفَّارَتُـهَا أَنْ يُصَلِّيَـهَا إذَا ذَكَرَهَا»
ความว่า “ผู้ใดที่ลืมละหมาดหรือเผลอหลับไปจนเลยเวลาละหมาดให้เขาละหมาดชดเมื่อนึกขึ้นได้” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 597 และมุสลิม เลขที่: 684 สำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
ดูเสริมได้ที่ :-
سورة طه: آية 14
(สุเราะห์ ฏอฮา : 14)
فتاوى نور على الدرب
الشيخ عبدالعزيز بن باز
المجلد السابع ص 110
จากฟัตวา นูร อะลัดดัรบฺ
ของชัยคฺ อับดุล-อะซิส บิน บาซ
เล่มที่ 7 หน้าที่ 110
วัลลอฮุอัม
จาก facebook อิสลาม ถาม ตอบ
อีกคำตอบหนึ่ง
ช่วยตอบหน่อยน่ะค่ะ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองบ่อยไม่รู้ว่าที่ตัวเองใช้วิธีนั้นๆแก้ปัญหามันจะถูกต้องรึเปล่า
-ถ้าเกิดว่าไมค์เสีย มะมุม(ผู้หญิง)ซึ่งไม่เห็นอิหม่าม ไม่ได้ยินที่อีหม่ามตักบีร และสลามก่อนอิหม่ามต้องละหมาดใหม่หรือไม่?
-ถ้าอิหม่ามลุกขึ้น เพิ่มจำนวนรอกาอัต แต่มะมุม(ผู้หญิง)ซึ่งไม่เห็นอิหม่าม นึกว่าท่านตักบีรเพื่อนั้งตะญัต(รู้แน่ๆว่าเป็นรอกาอัตสุดท้ายแล้ว) ก็เลยนั้งตะญัตกัน จนอิหม่ามตักบีรเพื่อรอกัวะจึงไดรู้ พอท่านเอียะตีดาลท่านก็อ่านวีริท(กุนุต)ซึ่งยาวมาก มะมุม(ผู้หญิง)จำเป็นต้องลุกขึ้นจากตะญัตหรือไม่(ในตอนนั้นไม่ได้ลุก แต่ซุญุจซะวีร่วมกับอิหม่าน ใช้ได้หรือไม่?
-ในกรณีเดียวกัน อิหม่ามเพิ่มจำนวลรอกาอัต แล้วมะมุมซึ่งละหมาดไม่ทัน(อาจจะเป็น๑หรือ๒รอกาอัต)ต้องเพิ่มหรือไม่?
เช่นเราละหมาดทันรอกาอัตที่๒ โดยปกติเราจะลุกขึ้นเพิ่ม๑รอกาอัต แต่อิหม่ามละหมาดเกินเราต้องเพิ่ม๑รอกาอัตที่ว่านั้นหรือไม่ ?
แล้วถ้าเราไม่ทัน๒รอกาอัต ตอนที่อิหม่ามซุญุจซะวีเราต้องซุญุจ(หลังตะญาสุดท้ายของอิหม่าม)ด้วยหรือไม่? ถ้าต้องสุญุตแล้ว(ในตะญาสุดท้ายของเรา)ต้องสุญุตอีกมั่ย?
-ถ้าเราลืม เผลอลุกขึ้นยืนในตอนที่อิหม่ามนั้งอ่านตะญา จะทำยังไงค่ะ ละหมาดตามปกติ(ตามขั้นตอนแล้วนั่งอ่านตะญัตกับอิหม่าม)แล้วสุญุซ่ะวี หรือว่านั่งตะญาตามอิหม่าม(พอรู้ว่าผิดก็นั้งตามอิหม่ามเลย คือไม่รอกัวะ ไม่อะไรเลย) หรือว่าละหมาดใหม่ค่ะ?
-เคยได้ยินมาว่าเวลาละหมาด(ผู้หญิง)ไม่ควรใส่กางเกงใน ถ้าละหมาดญามาอ่ะห์ก็จะได้บุญแค่๑ดัรจะห์ แต่ว่าถ้าเราไปเที่ยว(เดินทางไกล) ใส่กางเกงไป หรือว่าไปในสถานที่ๆไม่คุ้นเคย ไม่รู้ว่าปลดภัยมั่ย ไม่ถอดก.ก.น.ได้มั่ยค่ะ
-เราไปเที่ยว(เดินทางไกล)ใช่มั่ยค่ะ ต้องแวะอาบน้ำตามปั้มน้ำมันหรือห้องน้ำสาธารณ ไม่รู้ว่าปลดภัยมั่ย(กลัวโดนแอบถ่าย) ไม่กล้าอาบน้ำวาญิบ(เฮด)คือถ้าอาบมันต้องพิถีพิถันหน่อยเพื่อให้มั่นใจว่าสะอาดจริง ถ้าอาบน้ำปกตินี่ไม่เกินห้านาที (ถูตัวเร็วๆ รีบสวมเสื้อ กางเกงแล้วทำกิจอื่นต่อ) แล้วเราจะรอให้ไปยังที่ๆค่อนข้างมั่นใจว่าปลอดภัยได้มั่ยค่ะ? ต้องละหมาดชดมั่ยค่ะ?
-มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ต้องเดินทางไกล(กับรถบัสรวม) ทั้งวันนั้นไม่ได้ละหมาดเลยค่ะ(ตั้งแต่ซุบฮ์เลยค่ะ) ซุฮรีกับอัสรีเราเนี๊ยตจะละหมาดรวม มัฆริบกับอีสาก็เช่นเดียวกัน ไปเจอที่ละหมาดก็ใกล้ซุบฮฺของอีกวัน
จะละหมาดชดยังไงค่ะ? จำนวนรอกาอัตปกติคือซุบฮฺ2/ ซุฮรี4 /อัสรี4/ มัฆริบ3 อีสา4
หรือว่าละหมาดรวม คือซุบฮฺ2 /ละหมาดรวมซุฮรีกับอัสรี4 /ละหมาดรวม มัฆริบกับอีสา7)
ละหมาดวักตูอะไรก่อน?แล้วเนี๊ยตยังไง?
-แล้วถ้าเราขาดละหมาดในตอนที่ยังเด็ก(ประมาณ10ขวบ)เพิ่งมาประจำเดือนครั้งเดียว เมื่อหลายปีมาแล้วต้องชดมั่ยค่ะ? ชดยังไงค่ะ?
-เราหมดน้ำละหมาดแต่ว่าเราละหมาดอยู่ตรงกลางมัสยิดใหญ่ จะออกไม่สะดวก ก็เลยละหมาดต่อแบบเนียนๆอย่างนี้บาปมั่ยค่ะ
-ถ้าผู้หญิง(ยังไม่ได้แต่งงาน)ถูกข่มขืนไม่ยินยอมและสู้ไม่ได้ถือว่าผู้หญิงคนนี้ซีนัรมั่ย? ต้องโดนลงโทษรึเปล่า? แล้วลูกที่เกิดมาเป็นลูกซีนัรรึเปล่า?
-เขาซีนัรกันแล้วผู้หญิงท้อง ผู้ใหญ่ก็จับแต่งงาน ลูกที่เกิดมาเป็นลูกซีนัรใช่มั่ยค่ะ? แล้วลูกคนที่๒ที่เกิดกับชายหญิงคู่นี้ถือเป็นลูกซีนัรรึเปล่า?
ญาซากัลลอฮ์ฮุค็อยรอน
คำตอบ : อัสสลามุอะลัยกุมครับ 1. คำตอบ กรณีที่มัสญิดเกิดไมค์เสีย แล้วเราไม่เห็นการกระทำของอิมาม หรือไม่มีมะมูมชายเป็นกล่าวบอกความเคลื่อนไหวของอิมาม (มุบัลลิฆ) เช่นนี้ก็ให้มะมูมหญิงซึ่งอยู่ด้านล่าง หรือไม่ได้ยิน หรือไม่เห็นการกระทำของอิมาม เนียตแยกการตามอิมาม แล้วนมาซตามลำพังจนกระทั่งเสร็จนมาซได้นะครับ 2. คำตอบ ในกรณีที่อิมามลืมจำนวนร็อกอะฮฺในสภาพที่เกินร็อกอะฮฺ เช่นนี้วาญิบจะต้องเตือนอิมามให้ลงมานั่ง แต่ถ้าไม่มีใครเตือน หรือเตือนแล้วอิมามไม่ลงมานั่ง เช่นนี้ให้มะมูมทำได้สองวิธี วิธีแรก ให้มะมูมนั่งอ่านตะชะฮฺฮุด, เศาะละวาต และอ่านดุอาอ์ก่อนให้สลาม แต่ยังไม่ต้องให้สลาม รอให้สลามพร้อมกับอิมาม วิธีที่สอง ให้เรานั่งตะชะฮฺฮุด, เศาะละวาต และดุอาอ์ก่อนให้สลามจากนั้นก็ให้สลามเลิกนมาซเลย 3. คำตอบ ในกรณีที่เรามานมาซสายไม่ทันอิมาม เมื่ออิมามนมาซเกิน เช่นนี้ เราก็ตามอิมามไม่ได้ ก็ให้เรานั่งลงรอจากนั้นเมื่ออิมามให้สลาม เราก็นมาซของเราให้ครบที่เราขาดเท่านั้น ส่วนเรื่องการสุญูดสะฮฺวีย์ แม้ว่ามะมูมจะไม่ผิด แต่ความผิดอยู่ที่อิมามก็ตาม มะมูมก็ต้องสะญูดด้วย เพราะถือว่าเราตามอิมามนั่นเอง ส่วนกรณีที่เราลุกขึ้นนมาซส่วนที่เขาเสร็จแล้ว เราไม่ต้องสุญูดสะฮฺวีย์อีกแล้วนะครับ 4. คำตอบ กรณีที่เราลืมแล้วยืนขึ้นขณะอิมามนั่งตะชะฮฺฮุดนั้น เมื่อนึกขึ้นได้ ก็ให้เราลงมานั่งตะชะฮฺฮุดตามอิมามเช่นนี้ถือว่าพอเพียงแล้วครับ ไม่ต้องนมาซใหม่ หรือไม่ต้องสุญูดสะฮฺวีย์แต่อย่างใดนะครับ 5. คำตอบ การที่มีคนกล่าวอ้างข้างต้น ถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ ศาสนาอนุญาตให้เราสวมใส่กางเกงชั้นในขณะนมาซนมาซไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย หรือไม่ว่าเราจะอยู่บ้าน หรือเดินทางก็ตาม ส่วนที่อ้างว่าถ้าผู้หญิงนมาซญะมาอะฮฺสวมใส่กางเกงในจะได้ผลบุญน้อยกว่าไม่สวมใส่เป็นการอ้างที่เหลวไหลสิ้นดี เพราะไม่มีหลักฐานจากท่านนบีที่กล่าวแบบนั้นนะครับ 6. คำตอบ กรณีที่เราหมดรอบเดือน ระหว่างเดินทาง เมื่อสถานที่ที่เราจะอาบน้ำไม่สะดวกจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่นนี้ ก็อนุญาตให้เราไปอาบน้ำยกหะดัษยังสถานที่ที่เราจะไปพักอาศัย หรือห้องน้ำสะดวกกว่าได้นะครับ ส่วนเรื่องเวลานมาซเราก็ต้องนมาซเวลาที่ผ่านมาด้วยอยู่แล้ว เช่น เข้าเวลาซุฮฺริ เราหมดรอบเดือน แต่ยังอาบน้ำไม่ได้ แต่ครั้นเราอาบน้ำยกดัษแล้ว แต่อยู่ในนมาซอัศริ เช่นนี้ เราก็ต้องนมาซซุฮฺริ และอัศรินั่นเองครับ 7. คำตอบ กรณีที่เราเดินทางไกล โดยขณะนั้นเราอยู่บนรถ ซึ่งรถไม่ยอมจอดให้พัก เช่นนี้เราสามารถนมาซบนรถได้นะครับ แต่เอาล่ะเหตุการณ์ที่ผ่านมาเราไม่ได้นมาซบนรถ เช่นนี้เราขาดนมาซกี่เวลาก็ต้องนมาซชดใช้ให้ครบ ในสภาพที่ย่อ (เพราะเราอยู่ในระหว่างเดินทาง) โดยให้เราเรียงลำดับการนมาซ กล่าวคือให้นมาซศุบหฺ 2ร็อกอะฮฺ, เสร็จแล้วก็ให้นมาซซุฮฺริ 2 ร็อกอะฮฺ เสร็จแล้วก็ให้นมาซอัศริ 2 ร็อกอะฮฺเสร็จแล้วก็ให้นมาซมัฆริบ 3 ร็อกอะฮฺ เสร็จแล้วก็ให้นมาซอิชาอ์ 2 ร็อกอะฮฺ, ส่วนการเนียตก็ให้เราเนียตนมาซย่อและรวมนั่นเองครับ 8. คำตอบ กรณีที่ศาสนาจะเอาผิดในเรื่องการนมาซนั้น ในกรณีที่เรามีรอบเดือน ฉะนั้นเมื่อมีรอบเดือนเมื่อไหร่เราไม่นมาซถือว่าเรามีความผิด แต่ทว่าในอดีตเราไม่ได้นมาซมาเลยตั้งแต่เรามีรอบเดือน หรือนมาซบ้างทิ้งบ้าง พอมาวันนี้เราเรียนรู้ว่าสิ่งนั้นเรากระทำความผิด เช่นนี้ก็ให้เราเตาบะฮฺตัวต่อพระองค์อัลลอฮฺเพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องนมาซชดใช้การนมาซที่เราทิ้งมาในอดีตแต่อย่างใดทั้งสิ้นครับ 9. คำตอบ กรณีที่เราเสียน้ำนมาซ ขณะที่เรานมาซอยู่ในมัสญิด เช่นนี้ถ้าตามหลักการก็ให้เราเดินออกมาได้เลย ซึ่งการเดินตัดหน้าผู้นมาซอันเนื่องจากความจำเป็นข้างต้น ศาสนาอนุโลมให้กระทำได้ ประการต่อมา เมื่อเราเสียน้ำนมาซ ไม่อนุญาตให้เรานมาซแล้วล่ะครับ ฉะนั้นหากเราเสียน้ำนมาซแล้วไม่ตัดสินใจเดินออกมาจากมัสญิด เช่นนี้ก็ให้เรานั่งอยู่ในที่ของเรา ครั้นนมาซเสร็จเราก็ออกมาอาบน้ำนมาซ แล้วกลับไปนมาซใหม่ก็ได้ครับ 10. คำตอบ กรณีที่เราถูกบังคับ เช่นนี้ เราถูกข่มขืน เราก็ต่อสู้สุดความสามารถ แต่ก็แพ้จนถูกข่มขืน เช่นนี้ผู้ถูกข่มขืนไม่มีความผิดในฐานะทำซินา และไม่ถูกลงโทษด้วย ส่วนถ้าเรารู้ว่าตั้งครรภ์ เช่นนี้นักวิชาการอนุญาตให้ทำแท้งได้สำหรับสตรีที่ถูกข่มขืน แต่ถ้าสมมติว่า ตั้งครรภ์จนลูกออก เช่นนี้ตามหุก่มก็ต้องถือว่าเป็นลูกซินา แต่กรณีข้างต้นผู้ถูกข่มขืนไม่มีความผิดแต่อย่างใดทั้งสิ้น (ดั่งที่อธิบายมาแล้วข้างต้น) 11. คำตอบ กรณีที่ชายหนึ่งหญิงหนึ่งทำซินากัน แล้วนางเกิดตั้งท้อง จากนั้นเขาทั้งคู่ก็แต่งงานกัน เช่นนี้ลูกที่เกิดมาเรียกว่า ลูกซินานะครับ เพราะเด็กตั้งครรภ์ก่อนจะแต่งงานกัน ส่วนภายหลังที่มีลูกคนต่อไป หลังจากแต่งงานกันแล้ว เช่นนี้ไม่เรียกว่าลูกซินาแล้วล่ะครับ. والله أعلم |
by: มุรีด ทิมะเสน - mureed@mureed.com - 14/1/52 19:24 http://www.mureed.com/mr_talk/bview.asp?id=11299
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น